Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

เทคนิคการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

เทคนิคการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน

การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน  เป็นกระบวนการเรียนรู้ ของคนในชุมชน  ในการมีส่วนร่วมในการคิด  วิเคราะห์ปัญหา  ประเมินศักยภาพ และความพร้อมของหมู่บ้าน/ชุมชน  โดยใช้  ข้อมูลครัวเรือน  ข้อมูลชุมชน( จปฐ./กชช.2 ค ข้อมูลอื่นๆ)  และศักยภาพชุมชน  จัดทำเป็นแผนชุมชนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน  ทำให้หมู่บ้าน/ชุมชน  มีความสามารถในการบริหารจัดการกับปัญหาต่างๆของหมู่บ้านได้เอง  มีขั้นตอน ดังนี้
. ขั้นเตรียมการ  -  หมู่บ้านแต่งตั้งคณะทำงานแผนฯ  กำหนดวัน  เวลา  สถานที่  แจ้งส่วนที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อนำแผนงานเข้าร่วมบูรณาการ ร่วมเป็นพี่เลี้ยงในการจัดเวที  แจ้งผู้แทนครัวเรือนเข้าร่วมประชุม(ไม่น้อยกว่า 50 %
                . ขั้นดำเนินการจัดประชุมประชาคม
    ๒.๑ ลงทะเบียนผู้ร่วมประชาคม
    ๒.๒ ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจทบทวนการจัดทำ/ปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้าน 
    ๒.๓ การรับทราบสภาพปัญหาของหมู่บ้าน และจัดลำดับ
ก. นำเสนอสภาพปัญหาของหมู่บ้านจากการจัดเก็บข่อมูล จปฐ./ข้อมูล กชช.2 ค /ข้อมูลรายรับ-จ่ายครัวเรือน
และหรือข้อมูลอื่นๆ  ของหมู่บ้าน
                                ข.วิเคราะห์ศักยภาพของหมู่บ้าน  จุดแข็ง  จุดอ่อน (ซึ่งเป็นปัจจัยภายในหมู่บ้าน) โอกาส  และอุปสรรค (จากปัจจัยภายนอกหมู่บ้าน)
ค. การเสนอปัญหาและความต้องการของผู้เข้าประชุมหมู่บ้านเพิ่มเติม
                  ๒.๔ การจัดลำดับปัญหา แล้วหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข  โดยนำสภาพปัญหาทั้งหมดจากข้อ ก.  ข.และ ค. มาจัดลำดับความสำคัญ แล้วหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข  จนครบทุกปัญหา
                  ๒.๕ การกำหนดอัตตลักษณ์    วิสัยทัศน์ และทิศทางการพัฒนาของหมู่บ้าน
                  ๒.๖ การจัดทำโครงการ/กิจกรรม  โดยนำแนวทางแก้ไขปัญหาของทุกปัญหามาจัดทำโครงการ 
  ๒.๗  สรุปผล  ลงมติรับรองแผนฯและบันทึกผลการประชุม        
                . การจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน   - คณะทำงานฯจัดทำแผนเป็นรูปเล่ม 
. การประสานและใช้แผนพัฒนาหมู่บ้าน  - จัดเก็บแผนฯ ไว้ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน  - ส่งแผนฯ ให้ อปท./อบจ./อำเภอ/ จังหวัด หรือเอกชน(ถ้ามี) เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
. การทบทวนปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้าน  - ทบทวนปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้าน ตามขั้นตอน ที่ ๑-๔  ปีละ  ครั้ง เพื่อให้แผนเป็นปัจจุบัน  สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขุมความรู้  การจัดทำแผนฯ จะต้องมีการนำข้อมูลต่างๆที่สะท้อนปัญหาของหมูบ้านมาวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากสาเหคุของ ปัญหา  จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และประชาชนในหมู่บ้านต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯของตนเองให้มากที่สุด
แก่นความรู้   * การจัดทำแผนต้องเริ่มจากการสำรวจข้อมูล  การประชุมคณะทำงานฯที่เกี่ยวข้องทุกระดับ  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และ มีการแบ่งความรับผิดชอบในทุกกิจกรรมที่ชัดเจน 

เจ้าของความรู้  นายณัฐพงษ์  ผิวบาง นักวิชาการพัฒนาชุมชน ชำนาญการ สพอ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น