Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

โครงการเผยแพร่ผลการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย

สรุปองค์ความรู้ของ นางสาวสุรีรัตน์ ศักดิ์เดชากุล
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชาติตระการ

เรื่อง โครงการเผยแพร่ผลการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย
การฝึกอบรมวิทยากรระดับตำบล
วันที่ 2 มีนาคม 2557
ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
....................................
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างทีมวิทยากรระดับตำบลให้สามารถชี้แจงผลเวทีประชาเสวนา ปี 2556 ในระดับหมู่บ้านได้
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจผลการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทยสู่ประชาชน
ผลสรุปเชิงปริมาณ
 ๑. จัดเวที ๑๐๘ เวที ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
 ๒. ประชาชนผู้เข้าร่วมเวที จำนวน ๑๐๑,๖๘๓ คน
๓. มีผู้นำเสนอปัญหาและทางออก โดยพูดผ่านที่ประชุม ๒๘,๘๙๖ คน
๔. มีผู้นำเสนอปัญหาและทางออกผ่านแบบสอบถาม ๕๘,๑๘๓ คน
๕. สรุปประเด็นที่นำเสนอทั้งหมด ๑๐ ประเด็นหลัก
ผลสรุปเชิงคุณภาพ
 ๑. ความเข้าใจประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน ด้านความคิดเห็นและการแสดงออกที่แตกต่างกัน เรื่องการยอมรับและให้ความสำคัญกับเสียงข้างมากที่เกิดขึ้นจากระบบการเลือกตั้ง เป็นรูปแบบประชาธิปไตยที่จับต้องได้ ส่วนประชาธิปไตยที่เน้นคุณธรรม เป็นรูปแบบเป็นประชาธิปไตยที่ยากจับต้อง
 ๒. ความเคลือบแคลงในหลักนิติธรรม  เป็นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม
 ๓. ตุลาการภิวัฒน์  การแทรกแซงองค์กรอิสระ  มีการวิพากษ์วิจารณ์ศาล คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุกจริตแห่งชาติ(ปปช.) เข้ามามีอำนาจถ่วงดุลอำนาจ จากฝ่ายการเมืองและฝ่ายระบบราชการทางการเมืองเกิดความไม่โปร่งใส  ไม่เป็นกลาง นำไปสู่สองมาตรฐาน
๔. การรัฐประหาร และบทบาทของทหารในการจัดการความขัดแย้ง ซึ่งไม่สามารถยุติความขัดแย้งลงได้ แต่กลับเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น  วิธีการไม่ใช้กำลังและความรุนแรงในการตัดสินปัญหา หรือใช้แนวทางสันติวิธีน่าจะเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการความขัดแย้งให้เกิดความสงบสุขได้
๕. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นเหตุสำคัญของปัญหา  ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนรวยคนจน  ฐานะความเป็นอยู่  ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา  ปัญหายาเสพติด  การกระจายอำนาจของรัฐ  การมีระบบอุปถัมภ์  และการเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ  รัฐบาลต้องสร้างความเป็นธรรมเหล่านี้
๖. การขยายตัวของสื่อการเมืองและสื่อบุคคล  สื่อต้องมีจรรยาบรรณและมีความรับผิดชอบ ต้องรณรงค์ให้มีความรู้แก่ประชาชนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ
๗. การกล่าวอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยใช้พลังมวลชนเข้ามาเกี่ยวข้อง  ซึ่งคนไทยทุกคนควรมีจิตสำนึกในการเคารพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง  ไม่ควรดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง
๘. สังคมขาดองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งและสันติวิธี ปล่อยให้ความขัดแย้งบานปลาย  ต้องสร้างจิตสำนึกและรู้หน้าที่ของตนเอง โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครอบครัว  ชุมชน และสังคม  ส่งเสริมให้มีกิจกรรมสร้างความสามัคคี  การจัดเวทีให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น
๙. ความขัดแย้งแบบเดิมพันสูง  เป็นความขัดแย้งทางการเมืองและนักการเมือง ในเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งในรูปแบบเป็นตัวเงิน และอำนาจหน้าที่  นักการเมืองต้องยึดหลักคุณธรรม  ความเมตตา  ปรารถนาดีต่อกัน  เคารพกฎกติกา เพื่อได้ชัยชนะที่ขาวสะอาดและได้รับการยอมรับ
๑๐. การทุจริตคอรัปชั่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ประชาชนได้เสนอถึงการเข้าสู่ตำแหน่งโดยมิชอบ  การเอารัดเอาเปรียบ ต้นเหตุคือการขาดจิตสำนึก  เพราะฉะนั้นภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีกระบวนการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด และรณรงค์สร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ โดยมีหรือเพิ่มบทลงโทษที่เด็ดขาด  ปราบปรามอย่างจริงจังต่อเนื่อง  และสร้างจิตสำนึกปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม  นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
กระบวนการจัดเวทีประชาเสวนาหาทางออกประเทศไทย
ให้ทีมวิทยากรระดับตำบลดำเนินการจัดประชุมชี้แจงระดับหมู่บ้าน เพื่อหาแนวทาง/ข้อเสนอใดบ้าง
ที่ชุมชนสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง จำนวน 4 ข้อ ดังนี้
1.แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง กรณีปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
1) สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับประชาชน
2) ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึง
3) กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างจริงจัง
4) กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
5) ร่วมสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง
6) เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน
7) จัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย
8) พัฒนาระบบการศึกษาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
9) ปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจังและเป็นธรรม
10) รัฐบาลต้องสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้เกิดขึ้น
2. ข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทย กรณีปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
1)เร่งปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นให้หมดไป
2 เร่งพัฒนาในทุกๆด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษา เศรษฐกิจและเทคโนโลยี
3) เร่งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่วัยเยาว์
4) ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยกับประชาชนทุกระดับเพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์
5) เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยมุ่งปราบปรามอย่างจริงจัง
3. แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง กรณีปัญหาเฉพาะหน้า
1) ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ใช้กำลังในการตัดสินปัญหา
2) งดการชุมนุม หยุดการเคลื่อนไหว ปลุกระดมทางการเมือง
3) ส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างความสามัคคีของคนในชาติ
4) นักการเมืองเจรจาร่วมกันเพื่อกาทางออก
5) ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
6) เมตตาและปรารถนาดีต่อกัน
7) จัดเวทีหรือช่องทางให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น
8) แก้ไขรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
9) สื่อนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและรับผิดชอบต่อการนำเสนอที่ผิดพลาด
10) บังคับใช้กฎหมายอย่างยุติธรรม
4. ข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทย กรณีปัญหาเฉพาะหน้า
1)คนไทยมีความรัก ความสามัคคีกันให้มากขึ้น
2) รัฐบาล ฝ่ายค้านและประชาชนตองช่วยกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทย
3) นักการเมืองควรมุ่งทำงานเพื่อส่วนร่วมมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
4) ทุกคนต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย
5) หยุดความใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา
เทคนิค/บทบาทของวิทยากรระดับตำบล ในการไปจัดเวทีเผยแพร่ผลการจัดเวทีเสวนาหาทางออกประเทศไทย
โดย นายดุสิต  อาจอง, นายชวลิต  ถี่ถ้วน และ นายเทพฤทธิ์  เจริญศรี
เกี่ยวข้องในสมรรถนะการยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม(Integrity)
1.             แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง กรณีปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
2.             ข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทย กรณีปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว
3.             แนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง กรณีปัญหาเฉพาะหน้า
4.             ข้อเสนอแนะทางออกประเทศไทย กรณีปัญหาเฉพาะหน้า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น