Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

การดำเนินงานการตรวจสุขภาพกองทุนชุมชน

การดำเนินงานการตรวจสุขภาพกองทุนชุมชน                    


กองทุนชุมชน  หมายถึง กองทุนหมุนเวียน หรือกองทุนอย่างอื่นที่มีอยู่ในชุมชน ที่คนในชุมชนบริหารจัดการ
มี ๒ ประเภท
 ๑) กองทุนที่ประชาชนจัดตั้งเอง โดยภาครัฐสนับสนุน
 ๒) กองทุนที่ภาครัฐสนับสนุนจัดตั้ง

การตรวจสุขภาพ  หมายถึง  การตรวจ และการให้คำปรึกษาโรค  ตั้งแต่ยังไม่มีอาการหรือยังไม่พบโรค
การตรวจสุขภาพกองทุนชุมชน  หมายถึง การตรวจเจาะลึกสุขภาพทางการเงิน พร้อมค้นหาปัจจัยเสี่ยง และ เป็น การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของการเงินด้วยวิธีการตรวจ ระบบการบริหารจัดการ ระบบบัญชีและระเบียบ รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นแก่สมาชิก

สาเหตุของการตรวจสอบสุขภาพ
1. กลุ่ม/กองทุน มีเงินทุนเป็นจำนวนมากและ   ขยายวงเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
2. กลุ่ม/กองทุน เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเงินทุน    เช่น การควบคุมการดำเนินงานให้เกิดความโปร่งใส ขาดการตรวจสอบ

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. จังหวัดจัดทำฐานข้อมูลกองทุนชุมชน ที่เป็นเป้าหมายตามแนวทางของกรมฯ
2. กำหนดจำนวนเป้าหมายดำเนินการให้อำเภอ เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรร
3. จังหวัดตรวจสอบความถูกต้องของฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน
4. ประสานให้อำเภอส่งรายชื่อทีมตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน  เพื่อจังหวัดออกคำสั่งแต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพฯ
5. จังหวัดจัดประชุมซักซ้อมทีมตรวจสุขภาพ เพื่อรับทราบ วัตถุประสงค์ แนวทาง การดำเนินงาน
6. ทีมตรวจสุขภาพดำเนินการประเมินตรวจสุขภาพกองทุนชุมชนเป้าหมาย รอบที่ 1 พร้อมทั้งสรุปผลการตรวจ
สุขภาพ และจัดทำแนวทางการพัฒนาในกรณีไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
7. ทีมตรวจสุขภาพระดับอำเภอ/จังหวัด ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มเป้าหมาย
8. ทีมตรวจสุขภาพดำเนินการประเมินตรวจสุขภาพกองทุนชุมชนเป้าหมาย รอบที่ 2 พร้อมทั้งสรุปผลการตรวจ
สุขภาพให้จังหวัดทราบ
9. จังหวัดสรุปผลการตรวจสุขภาพสรุปผลการตรวจสุขภาพพร้อมทั้งคัดเลือกกองทุนที่มีผลการดำเนินงานตาม
หลักธรรมภิบาล กองทุนละ 1 ประเภท พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงาน

เทคนิคการตรวจสุขภาพให้ประสบผลสำเร็จ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการดำเนินงานแก่ทีมตรวจสุขภาพ และกลุ่มเป้าหมายให้เห็น
ความสำคัญของการดำเนินงานการตรวจสุขภาพ ให้ทราบว่า เป็นการป้องกัน หรือถ้าเกิดเหตุแล้ว จะมีวิธีการแก้ไขเหตุที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่เป็นการมาจับผิด
2. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ต้องติดตามสนับสนุน พร้อมให้คำแนะนำแก่กองทุนชุมชน อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

กลยุทธการดำเนินงาน
1. การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ประสานกลุ่มเป้าหมายก่อนที่จะคัดเลือกเป็น
กลุ่มเป้าหมาย
2. การแต่งตั้งทีมตรวจสุขภาพ อำเภอ และจังหวัดควรให้คณะกรรมการเครือข่ายกองทุนชุมชน ระดับ
อำเภอ/จังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อรับทราบผลการของกองทุนชุมชนในระดับอำเภอ/จังหวัด

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
อำเภอ/จังหวัด มีกองทุนชุมชน ที่มีการดำเนินงานตามหลักธรรมภิบาล ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับ
กองทุนชุมชนอื่นๆได้

ชื่อ - สกุล : นางภัทรพร  เอื้ออิสระวิมล
ตำแหน่ง : นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 
สังกัด : กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น