Translate

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ
………………………………………………………..

การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นงานใหม่ ระเบียบแนวทางการดำเนินงานใหม่ ที่โครงสร้างให้ความสำคัญกับศักยภาพของสตรีในการบริหารจัดการกองทุนเต็มรูปแบบ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นพี่เลี้ยงภายใต้ขีดจำกัดหลายประการ เช่น มีระเบียบคู่มือการดำเนินงานแต่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรับรู้ช้ากว่าสตรี หรือไม่รับรู้เลย ระยะแรก เอกสารติดต่อสื่อสารหรือแม้กระทั่งระเบียบการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรู้เรื่องด้วย การดำเนินงานมีเอกสารที่เกี่ยวข้องระหว่างทางแต่ละขั้นตอนมาก เมื่อมีการประสานเอกสารแจ้งผ่านสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภายหลัง ระบบเอกสารจึงไม่ต่อเนื่อง ไม่สมบูรณ์ที่จะสนองตอบต่อการดำเนินงานกองทุนฯที่มีประสิทธิภาพได้ กอร์ปกับศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแต่ละตำบลแตกต่างกัน การรับรู้และความสามารถในการบริหารจัดการจึงมีความแตกต่างกันในทุกด้าน
จากการพัฒนาตนเอง ทำให้ได้ความรู้ และมีแนวความคิดที่ว่า “การทำงานต้องมีเป้าหมาย เมื่อลงมือทำต้องมีผลงาน วางเป้าหมายให้ใหญ่ไว้ แม้เมื่อทำงานแล้วจะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่สูงสุดได้ แต่ก็ได้ผลงานที่มากกว่าเดิม” ดังนั้น จึงนำแนวคิดดังกล่าวกำหนดเป้าหมายไว้ที่การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นกว่าเดิมแม้ว่าคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจะมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และการศึกษาที่ต่างกัน แต่ต้องการให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเหมือนกัน  โดยเฉพาะระบบเอกสารซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการกองทุนให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบ ติดตามได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงคิดที่จะดำเนินการจัดทำสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบขึ้น โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
๑.      จัดทำโครงการ “สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ” เสนอขออนุมัติดำเนินการจากนายอำเภอ
๒.      แต่งตั้งทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านเอกสารและงานสารบรรณ โดยศึกษาจากระเบียบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี / เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเอกสารของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีดีเด่นของอำเภอ เพื่อปรับปรุงและต่อยอดให้สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม
๓.      ทีมงานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีตำบลที่ได้รับการคัดเลือก ดำเนินการปรับปรุงสำนักงานตามรูปแบบที่กำหนด
๔.      นำคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลศึกษาดูงานสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิด และเป็นการเสนอแนวทางให้สตรีได้นำไปดำเนินการต่อในลักษณะ Benchmarking (เรียนรู้จากสิ่งที่ดีที่สุด)
๕.      ติดตาม / สรุปผลการดำเนินงาน


………………………………………………………………………………………………………………………………….

น.ส.โสภิต  ภูริสวัสดิ์

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น