Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน

1. ความรู้ในการปฏิบัติงานเรื่อง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชุมชน
2. เจ้าของความรู้ ชื่อ นายสุพีรณัฐ    สีสดตราดสะกุล
3. ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
4. สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
           โทร. 08-1379-7093
5. วันที่บันทึกองค์ความรู้ 20 สิงหาคม 2556
6. เหตุผล / ความจำเป็น / มูลเหตุจูงใจ
จากการได้ลงปฏิบัติงานในพื้นที่และได้ร่วมปฏิบัติงานกับผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำท้องที่(กำนัน/
ผู้ใหญ่บ้าน) ผู้นำท้องถิ่น (นายก อบต. สอบต.) จะเกิดปัญหาความขัดแย้งกันเนื่องมาจากต่างฝ่ายมาจากการเลือกตั้ง ทำให้ต้องเป็นคู่แข่งทางการเมืองกัน โดยแต่ละฝ่ายก็ไม่ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามคะแนนเสียงมากกว่าหรือหากเข้าสู่ตำแหน่งแล้วไม่ต้องการมีผลงานที่โดดเด่นมากกว่ากัน
                                ในปัจจุบัน ไม่มีการมอบหมายให้ชัดเจนระหว่างอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การทำงานร่วมกับกำนันผู้ใหญ่บ้านและองค์กรส่วนท้องถิ่นพบว่า ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะมีปัญหาอยู่มาก ตัวแปรสำคัญที่เป็นปัญหาของทั้ง 2 ฝ่าย คือ เรื่องงบประมาณ ซึ่งฝ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะทำงานร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีงบประมาณอยู่ในมือ ก็ใช้งบประมาณเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ พวกพ้อง ไม่ได้กระจายให้เท่าเทียมกันทุกหมู่บ้าน และเกิดจากทั้งสองฝ่าย คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดความขัดแย้งกันมาตลอด
                                วิธีการที่ผู้นำท้องถิ่นใช้จัดการกับความขัดแย้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ตำบล คือการใช้คนกลางในตัวเชื่อมประสานระหว่างทั้ง  ฝ่าย และอาศัยภูมิปัญญาของชุมชนในการจัดการความขัดแย้ง คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนโดยการอบรม เช่น การประชุม การปรึกษา หารือ ฝึกอบรมให้ความรู้ จัดประชาคม ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม และการเจรจาต่อรอง หลีกเลี่ยงการใช้กฎหมายเป็นบางเรื่อง เป็นต้น

วิธีการขจัดความขัดแย้งหรือวิธีการดำเนินกิจกรรม
                                ชาวบ้านหนองลวก ยังใช้ความเชื่อ จารีต ประเพณีดั้งเดิมและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในการสร้างความปรองดอง สามัคคีในชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีงามในการทำความดี ลด ละ เลิกอบายมุขด้านต่าง ๆ โดยมีโครงการและกิจกรรม โดยใช้กิจกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี 2556 เป็นแนวทางสร้างความสามัคคีเป็นตัวขับเคลื่อน สิ่งที่เกิดขึ้นและปฏิบัติสืบทอดกันมา อาทิเช่น ประเพณีเลี้ยงปู่ปลัด ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประเพณีสารทไทย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีส่งแสนห่า ประเพณีการทำขนมจีน ประเพณีเทศมหาชาติ ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

บทบาทในการจัดการความขัดแย้งโดยกลไกกรมการพัฒนาชุมชน
                                บ้านหนองลวก หมู่ 2 ตำบลคันโช้ง ได้ส่งประกวดโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนในปี 2556  เพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนให้ยั่งยืนในการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาชุมชนที่จะส่งผลให้ “ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนพึ่งตนเองได้ ครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข”  เพื่อเป็นการส่งเสริมความปรองดอง สมานฉันท์ในโอกาสต่อไป

ข้อพึงระวัง
1.             ต้องใช้เหตุผลและหลักการในการโน้มน้าวจิตใจประชาชนให้ปฏิบัติตามได้ถูกต้องและถือเป็นแนวทางปฏิบัติในชุมชน ดังนั้นบทบาทของผู้นำ จึงมีความสำคัญอย่างมากในการจัดการความขัดแย้ง
2.             ผู้บริหารทุกระดับควรให้การส่งเสริมการดำเนินงานของหมู่บ้านทั้งสร้างค่านิยมให้ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชุมชนและบุคคลทั่วไป
3.             ต้องให้ความสำคัญ ความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันเหตุความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นภายในชุมชน
4.             ควรสร้างแรงจูงใจที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันการแก้ไขความขัดแย้ง
  

เจ้าของความรู้ นายสุพีรณัฐ   สีสดตราดสะกุล ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ   สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวัดโบสถ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น