Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปผลการฝึกอบรม หลักสูตร “การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง”
ภายใต้โครงการฝึกอบรมแกนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปีงบประมาณ  ๒๕๕๗
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
ณ  ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง  อำเภอบ้านบึง  จังหวัดชลบุรี
ระหว่างวันที่ ๒๒ ๒๔  ธันวาคม  ๒๕๕๖
...........................
ได้เรียนรู้หลักการการทำกสิกรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียงศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง" ซึ่งก็ตั้งเป็น "หมู่บ้านกสิกรรม" มีการสาธิตและอบรมเกียวกับการทำกสิกรรมแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจัดแบ่งกิจกรรมเป็น ๙ ฐานการเรียน
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องนี้ มีเจ้าบ้านคือ ท่านอาจารย์ยักษ์ หรือท่านอาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตข้าราชการที่ได้ทำงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างใกล้ชิด และเป็นประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โดยศูนย์ดังกล่าวมีกิจกรรมที่น่าสนใจเช่น
๑.      บ้านคนเอาถ่าน"กระบวนการผลิตถ่านคุณภาพสูงและน้ำส้มควันไม้เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่าน"
๒.    บ้านคนมีน้ำยา "สอนวิธีการพึ่งพาตนเอง การทำน้ำยาต่างๆเพื่อใช้เอง"
๓.     บ้านคนมีไฟ"ไบโอดีเซล ไบโอแก๊ส ไม่พึ่งใครทำใช้เอง"
๔.     บ้านคนรักแม่ธรณี "ฮอร์โมนสมุนไพร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษอาหารที่เหลือใช้ในครัวเรือนและการทำปุ๋ยเม็ด
๕.     บ้านคนรักป่า"การปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์ 4 อย่าง (ปลูกป่า 5ระดับ)
ซึ่งป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง" หมายถึง ป่าไม้ที่ปลูกนั้นสมควรที่จะปลูกแบบป่าใช้ไม้ ป่าสำหรับใช้ผล และป่าสำหรับใช้เป็นฟืน ดังนั้นการปลูกป่า 3 อย่างให้ประโยชน์ 4 อย่าง ที่ให้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้นสามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่างคือ หนึ่งให้ไม้กินได้ สองให้ไม้เศรษฐกิจ สามให้ไม้ใช้สอย และสี่คือการช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธาร ซึ่งไม้ทั้งสามอย่างที่ปลูกนั้นต้องเป็นไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตและเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ฉะนั้น การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นการปลูกไม้ให้เกิดขึ้นในใจของคนในชุมชนเป็นจิตสำนึก เป้นความตระหนัก เป็นความสัมพันธ์ที่สร้างความเกื้อกูล เป็นการสร้างป่าสร้างชุมชนที่ยั่งยืน
อาจารย์ยักษ์ มักจะพูดกับคนใกล้ชิดเสมอว่า เขาเป็นข้าของแผ่นดิน ดังนั้นจึงมีพันธะสัญญาต่อแผ่นดิน พันธะดังกล่าวทำให้อาจารย์ยักษ์ร่างยุทธศาสตร์เพื่อการทำงานไว้ 4 ข้อ เป็นจุดมุ่งหมายที่วางไว้สำหรับการทำงานในอนาคต ปลูกวัฒนธรรมพอเพียงให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการทำกสิกรรมพอเพียง ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นก้าวหน้า และปลูกวิถีชีวิตที่แสนง่าย ไม่มักใหญ่ รักสงบ ขยัน เผื่อแผ่ เอื้ออารี และรู้จักทาน
๑.      ฝึกเทคนิคเทคโนโลยีธรรมชาติ เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด และชนิดผง ทำยา ยาฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย ทำฮอร์โมน เพื่อเพิ่มดอก เพิ่มรส ฝึกเลี้ยงสัตว์ สัตว์บก สัตว์น้ำ
๒.    สะสมทุน ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม ทุนเงิน จะเอาแต่ทุนเงินอย่างเดียวไม่พอ
๓.     ฝึกจัดการ จัดการตัวเอง ตั้งแต่เรื่องกาย เรื่องใจ จัดการให้มีความมุ่งมั่น และฝึกจัดการกลุ่ม สังคมและประเทศชาติ
นอกจากนี้  เขายังสร้าง  "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" ซึ่งเป็นการรวบรวมระบบการศึกษาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกด้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และได้รับการบริจาคที่ดินเพื่อจัดสร้างมหาวิชชาลัยที่จังหวัดสระแก้ว แนวคิดในการดำเนินงานคือ สร้างบัณฑิตให้เป็นนักพัฒนาในท้องถิ่นของตนเอง  
                ซึ่งได้นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำการให้ความรู้
ความเข้าใจแก่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ บ้านปากพิงตะวันตก หมู่ที่ ๖  ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองพิษณุโลก เช่น  กิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และส่งเสริมการออมทรัพย์
ชื่อ - สกุล : นางสุทธิรักษ์  อาจอง  
ตำแหน่ง : นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ 
ที่ทำงาน : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพิษณุโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น