Translate

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ

 
ชื่อ- สกุล  นางยุพา  กลิ่นหอม
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่อง การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ
วันที่บันทึก 5  เมษายน  2557
 
 
ที่มาองค์ความรู้ที่เลือก
            รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาโครงการที่เกิดจากศักยภาพของชุมชน และก่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน โดยการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัดการของสมาชิกกลุ่ม องค์กร และประชาชน ให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนองค์ความรู้ การเข้าถึงแหล่งทุน และพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการในการประกอบอาชีพ
            กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมการผลิตให้ได้มาตรฐานและส่งเสริมการบริหารผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการให้บริการทางวิชาการ แหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของประชาชน เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งศูนย์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากที่ผ่านมายังขาดกลยุทธ์ วิธีการในการให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้เสนอ จึงได้สนใจและจัดทำข้อเสนอ เรื่อง การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ เพื่อให้เป็นศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ ที่มีคุณภาพ ให้บริการอย่างครบถ้วนและทั่วถึง

        ในฐานะที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาล และกรมการพัฒนาชุมชน จึงได้สนใจที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการส่งเสริมศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ

บันทึกขุมความรู้
         ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการ และพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน มีหน้าที่เชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

         ขั้นตอนการเตรียมตัว
              ๑. ศึกษาทำความเข้าใจการดำเนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก
              ๒. ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ทีมงานพัฒนาชุมชน หน่วยงานภาคี
                  และผู้นำกลุ่มองค์กร

         ขั้นตอบการดำเนินงาน
              ๑. จัดเวทีประชาคมเพื่อกำหนดแนวทางการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ
              ๒. คัดเลือกคณะกรรมการที่มีความรู้ ความเข้าใจ และมีความพร้อมฯ ในการดำเนินงานฯ
              ๓. จัดหาสถานที่ตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำเภอ
              ๔. รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้ และคลังสมองด้านเศรษฐกิจ
              ๕. จัดทำสื่อ เครื่องมือในการให้บริการฯ
              ๖. ดำเนินการให้บริการฯ แก่กลุ่มลูกค้า

เทคนิคสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประสบผลสำเร็จ
         ๑. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน  และคณะกรรมการศูนย์ฯ ต้องเข้าใจภารกิจ และความสำคัญของศูนย์ฯ
         ๒. การประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ แก่หน่วยงาน ผู้นำ/กลุ่ม/องค์กร และประชาชนทั่วไป
         ๓. การบริการ ต้องให้บริการได้ตรงความต้องการของผู้รับบริการ และผู้รับบริการได้รับประโยชน์     มีความพึงพอใจ
         ๔. ข้อมูล / แหล่งข้อมูล ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้ และข้อมูลต้องมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ

กลยุทธ์ในการดำเนินงานฯ
         ๑. ค้นหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
         ๒. เชิญผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
         ๓. จัดกิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานศูนย์ฯ
         ๔. จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
         ๑. การสร้างศรัทธาให้กับผู้รับบริการ ได้รับบริการอย่างถูกต้อง และทันเวลา
         ๒. มีข้อมูล / บุคลากรที่สามารถให้บริการได้ถูกต้อง และทันเวลา

ข้อควรคำนึง
         ๑. ข้อมูลต้องทันสมัยอยู่เสนอ
         ๒. มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
         ๓. ต้องมีการติดตามประเมินผลการให้บริการ



***********************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น