Translate

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

การดำเนินโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต

ชื่อองค์ความรู้   การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนางาน
เจ้าของความรู้   นางจริยา  สมวันดี  
ตำแหน่ง  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
เรื่องเล่า    ตามที่กองแผนงานฯ กรมการพัฒนาชุมชน จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต เมื่อวันที่
27-29 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมลาเวนเดอร์โรงแรมรามา การ์เด้นท์ ถนนวิภาวดีรังสิต กทม.
โดยผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมตามโครงการดังกล่าว จากความรู้ที่ได้รับจากการอบรม
ทำให้ทราบถึง
๑. ความเป็นมา วัตถุประสงค์ แนวทางการปฏิบัติในการ ดำเนิน “โครงการการบริหารครัวเรือน
ยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิต และดูแลชีวิต” ใน ๔ กระบวนงาน เริ่มดำเนินโครงการตามงบประมาณกรมการพัฒนาชุมชนเมื่อปี ๒๕๕๖ และในปี ๒๕๕๗ โครงการนี้
เป้าหมายในการยกระดับรายได้ครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี พ.ศ.  2556 ทั้งหมด 45,130 ครัวเรือน ให้มีรายได้เกณฑ์ จปฐ. 30,000 บาท/คน/ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นักวิชาการจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จาก 69 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวมจำนวน 69 คน  (ยกเว้นจังหวัดกาญจนบุรี ตราด นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี  สมุทรปราการ และสมุทรสงคราม เนื่องจากไม่มีครัวเรือนยากจนในปี พ.ศ.2556)  ผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรจากกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน และกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน 
๒. การดำเนินนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการเป็นวาระแห่งชาติ เป็นงาน
นโยบายสำคัญของรัฐบาลที่มีความสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน ในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงมหาดไทย และประเด็นยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
(การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง/การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน/การดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนชุมชน /การบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน)
ในบทบาทนักวิชาการพัฒนาชุมชน ผู้รับผิดชอบงานการแก้ไขปัญหาความยากจนตามโครงการดังกล่าวได้นำความรู้ที่ได้มาวางแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานในทุกระดับ เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ดังนี้
๑. จัดทำแนวทางการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ ๔ กระบวนงาน
และซักซ้อมแนวทางให้พื้นที่เป้าหมายดำเนินการ
๒. จัดทำระบบฐานข้อมูลการจำแนกสถานะครัวเรือนยากจนเป้าหมาย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อ
การส่งเสริม สนับสนุน ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย ทีมปฏิบัติงานในระดับตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง และจัดทำคู่มืออาชีพแก้จน เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางการพัฒนาตนเองให้แก่ครัวเรือน ให้ครัวเรือนตระหนักและเรียนรู้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างมีทิศทาง โดยสนับสนุนกิจกรรมลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม
๔. จัดทำเครื่องมือในการติดตามผลการดำเนินงานตามโครงการ และความก้าวหน้าการพัฒนา
ครัวเรือนยากจนเป้าหมาย โดยมอบหมายให้นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดในพื้นที่โซนรับผิดชอบดำเนินการ
และรายงานผลปัญหา อุปสรรค ในการติดตามงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
ทิศทางการพัฒนางาน  ในการดำเนินโครงการฯตามกระบวนงานฯ ทำให้การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแนวทางที่กำหนด เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการทำงาน ในฐานะนักวิชาการผู้รับผิดชอบงาน มีความคาดหวังในการพัฒนาตนเองด้านการจัดการองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ในพื้นที่เป้าหมาย ปี ๒๕๕๗ โดยมุ่งเน้นให้อำเภอสรุปบทเรียน ถอดองค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอำเภอมีข้อมูลผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ ไม่น้อยกว่าอำเภอละ 1 เรื่อง ซึ่งในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันในการทำงานให้เกิดความสำเร็จ ผู้เขียนคาดหวังว่าการจัดการความรู้นี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญสู่การปฏิบัตินำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต่อไป
            มีนาคม ๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น