Translate

วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

การทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์:เทคนิคการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเพิ่มความสุขมวลรวมชุมชน

1.ชื่อองค์ความรู้  การทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์:เทคนิคการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเพิ่มความสุขมวลรวมชุมชน
2.ชื่อนายนิคม  ทับทอง   ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนระดับชำนาญการ.
3.วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหา
      3.1  แก้ไขอุปสรรคความยุ่งยากในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปเพิ่มความสุขมวลรวมในชุมชน
                 ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
3.2  เพื่อนำเทคนิคไปแก้ไข ข้อจำกัด ด้านกำลังคน ด้านงบประมาณ  ด้านวัสดุอุปกรณ์  ด้านวิชาการ ฯลฯ
เกริ่นนำและสภาพปัญหา
     กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการพัฒนาชุมชน มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน ซึ่งก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการ มีการประเมินวัดความสุขมวลรวมของชุมชน โดยมีตัวชี้วัด 6 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ในการเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย ประสบปัญหาอุปสรรคข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ในการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปให้ราษฏรในชุมชนได้มีตวามเข้าในคิดเห็นคล้อยตามตระหนักเห็นความสำคัญนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงระยะเวลาการวัดผลที่รวดเร็ว ซึ่งต้องเร่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์  การดำเนินงาน มีเวลาน้อยที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิดและ พัฒนาผลการประเมิน ในตัวชี้วัดความสุขมวลรวม  ให้มีคะแนนสูงขึ้นได้
     ฉะนั้นนักพัฒนาชุมชนต้องค้นหา หลักวิธีการ เทคนิคในการนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาค่าตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของหมู่บ้านเพิ่มขึ้นจากเดิมอยู่ในระดับอยู่เย็นเป็นสุข
เทคนิค เคล็ดลับ ต่าง ๆ  ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในชุมชน
1. ประชุมชี้แจงประชาสัมพันธ์การประเมินผลความสุขมวลรวมหมู่บ้าน และการดำเนินวีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  
2. ต้องค้นหาจัดกลุ่ม“คนหัวไวใจสู้”“คนรอดูทีท่า“คนเบิ่งตาลังเล” “คนหันเหหัวดือ” “คนงอมือจับเจ่า” “คนไม่เอาไหนเลย”
3. ให้ความรู้กับ “คนหัวไวใจสู้” และ “คนรอดูที่ท่า” ดึงเอาคนหัวไวใจสู้มาทำเป็นตัวอย่างก่อน  4-5   ครัวเรือน
4. ปรับทัศนะครัวเรือนตนแบบตัวต่อตัว กำหนดแผนปฏิบัติการร่วมกัน ให้มีรายละเอียดทดลองทำ หาทางออกร่วมกัน
5.สร้างครัวเรือนต้นแบบจากคนหัวไวใจสู้ เชื่อมโยงขยายผลให้เกิดการเรียนรู้ในหมู่บ้าน โดยยกตัวอย่างกล่าวยกย่องชื่นชม
   พาไปดู   และให้พูดในที่ประชุมหมู่บ้าน (จะเกิดความภาคภูมิใจ และเกิดการทำตามอย่างกัน)
6.เจ้าหน้าที่ต้องมีบทบาทส่งเสริมประสานงาน สนับสนุน จัดการ  อำนวยการ แก่กลุ่มตัวครัวเรือนหัวไวใจสู้ อย่างต่อเนื่อง
7. การเรียนรู้สร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้  ใช้ทรัพยากร  ทั้งในและนอกชุมชน
8. สรุปผลการส่งเสริม ติดตามประเมินผล นำเสนอในที่ประชุมทุกเดือน
6. สอนให้รู้จักการปรับตัวรับแรงกระแทกในแต่ละกิจกรรมที่ทำ  ต้องมีเหตุมีผล  ต้องพอประมาณ ต้องมีภูมิคุ้มกัน
ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไข ในระหว่างการทำงาน
1.ประชาชนกลุ่มประเภท เบิ่งตาลังเล จะคอยแย้งและพูดจากรบกวน  ในช่วงระหว่างที่กลุ่มหัวไวใจสู่ทดลองทำอยู่นั้น
ที่ได้ไม่สำเร็จ   ทางแก้ไข   เจ้าหน้าที่ให้กำลังใจและประชาสัมพันธ์  หอกระจายข่าว ใช้สื่อให้เกิด
ประโยชน์  สร้างมวลชลให้มาก ลดการเผชิญหน้า  ลดข้อขัดแย้ง  ให้อภัย  ให้เกียรติ ยกย่อง ให้โอกาส  กลุ่มเขาเหล่านั้น
2. ขาดแคลนงบประมาณในช่วงที่ต้องการทดลองทำ
      ทางแก้ไข ใช้วัสดุเท่าที่มีอยู่ในครัวเรือน  และประสานขอรับการสนับสนุนจาก อบต.  และหน่วยอื่น ๆ
3. ประชาชนกลุ่มหัวไวใจสู้ทดลองทำแล้วพบอุปสรรค เรื่องความรู้เทคนิคการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
ทางแก้ไข เจ้าหน้าที่เกษตร พัฒนากร เข้าไปค่อยช่วยเหลือในช่วงแรกบ่อย
4. ทีมงานมีคำสั่งตั้งไว้มากมาย  แต่ปฏิบัติจริง  3-4  หน่วยงาน
ทางแก้ไข ไม่เป็นไร แต่ก็ประสานงานกับหน่วยงานเขาเพิ่มเติมว่าเราจะทำอะไร
เมื่อไร  ไม่ว่าไม่ตำหนิ ใด ๆ ยิ้มรับยิ้มสู่  ใช้ผู้นำชุมชนในหมู่บ้านร่วมเป็นแกนนำแทน
-2 -
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ขุมความรู้)
1) ต้องเชื่อมั่นว่าคนทุกคนพัฒนาได้
2)ปรับทัศนะ  พาไปดูตัวอย่าง นำเอาวีดีทัศน์มาให้ดู พูดให้ประชาชนเข้าใจและอยากทำตาม
3)การที่ได้คัดครัวเรือนที่หัวไวใจสู้พูปุ๊บทำปั๊บ ทำให้ดูก่อน เน้นให้เขาเข้าใจและรับประโยชน์
4) เข้าไปพบปะพูดคุยบ่อย ๆ การให้ความสำคัญ  ให้เกียรติ  ให้โอกาส
5) ปรับทัศนะความคิด  ก่อนพัฒนาทักษะ  ผู้นำต้องทำให้ดูก่อน  จึงจะไปพูดสอนคนอื่นได้ และเจ้าหน้าที่ให้กำลังใจ
6)การพูดถึงทุกข์ของเขา เรามาแก้ไขความทุกข์ใจของท่านกัน
7) ฝึกทดลองทำในเรื่องง่าย ๆ ให้สำเร็จ ก่อน
8) ใช้เทคนิคคำพูด  จิตวิทยาในการชักจูงโน้มน้าว  ใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
9) เจ้าหน้าที่ต้องใจกว้าง ไม่เห็นแก่เล็กน้อย  เสียสละ อดทน  ยิ้มแย้ม  เรื่องเสื่อมเสีย  เช่น เหล้า  การพนัน  ผู้หญิง
     สิ่งเสพติด เงินวาจา ความจริงใจ การแต่งกาย ภูมิรู้  ภูมิฐาน ภูมิธรรม ทุ่มเทเสียสละ
10)ประชาสัมพันธ์ก่อนทำ  ระหว่างทำ  หลังทำ
แก่นความรู้
      1.ศึกษา ใช้เทคนิค  จิตวิทยา  แรงจูงใจ เทคนิควิเคราะห์  จุดอ่อน  จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค
      2. มีทักษะ ความรู้และการเป็นวิทยากรกระบวนการ การประสานงาน  การส่งเสริม
      3. มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น หน่วยงานอื่น และเข้าใจผู้อื่น ใช้ห้วงเวลาอย่างเหมาะสม
      4. มีความศรัทธามุ่งมั่น  ในงาน มีและใช้อุดมการณ์ในการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
      5. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสร้างสัมพันธ์ที่ดีหรืออาจใช้คนที่สามารถทำแล้วเกิดผลดีมากกว่าเรา
      6. มีความชัดเจนไม่คลุมเครือในงานที่ทำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
      7. ใช้โอกาสประชาสัมพันธ์ ยกย่องเกิดความภาคภูมิใจครัวเรือนเป้าหมาย
      8. ติดตามประเมินผลร่วมกับผู้นำและประชาชนในพื้นที่
      9. สร้างและให้กำลังให้กับตนเองและผู้อื่น ๆ เสมอเมื่อพบอุปสรรอ่อนล้าลง
สรุปข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
    6.1  การแก้ไขปัญหาของชุมชนต้องกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างสูง และต้องใช้กระบวนการประชาคมใช้พลังศักยภาพในชุมชนเป็นตัวผลักดัน
     6.2 ผู้นำและประชาชนตลอดจนเจ้าหน้าที่ต้องทราบและเข้าใจถึงสาเหตุสภาพปัญหา ความรุนแรง  ขนาดปัญหา  อย่างแท้จริงก่อนลงมือแก้ไข
      6.3  ต้องมีการติดตามสนับสนุนผู้นำชุมชนและชุมชน ประชาชนจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง
      6.4 หลังจากปรับทัศนะ พัฒนาทักษะ ใช้ทรัพยากร  หาทางออก จะเห็นว่าหมู่บ้าน มี จุดแข็งเกิดขึ้นมากมาย  ในเรื่องความสามัคคี มีกองทุนต่าง ๆ มากมาย  อยู่แล้วควรที่จะ  ใช้โอกาสนี้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
      6.5  เจ้าหน้าที่/ผู้นำชุมชนควรมีการติดตามประเมินผลและประชุมประชาคมอยู่อย่างสม่ำเสมอโดยในแต่ละครั้งต้องนำเอาเรื่องกิจกรรมที่ทำที่มีหรือไม่มีปัญหา  มาคุยกัน   ควรบรรจุเป็นวาระถาวรที่จะต้องพูดคุยกัน
      6.6   ผู้นำชุมชนควรศึกษาและทดลองนำ กิจกรรมใหม่ ๆ มาเสริมเพิ่มติมอยู่เสมอ โดยต้องเป็นต้นแบบที่ดี
       6.7   ส่งเสริมและสร้างผู้นำในหมู่บ้าน ใหัมากขึ้น ทดแทนกันได้และฝึกให้ประชาชนทำกิจกรรมอย่างเป็นปกติวิสัย และรับประโยชน์จากสิ่งที่ทำและไม่ถูกบังคับ ถูกสั่งให้ทำ อย่างเด็จขาด
 ที่อยู่ สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองพิษณุโลก  (ที่ว่าการอำเภอเมือง) จังหวัดพิษณุโลก  65110    โทร. 055-282-040
โทรศัพท์มือถือ  081-973-5637

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น