Translate

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

การดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด ประจำปี ๒๕๕๗

              การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ นับเป็นภัยร้ายแรงต่อประชาชนและประเทศชาติที่บ่อนทำลายทั้งเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองและวัฒนธรรมตลอดจนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆด้าน  การทุจริตและประพฤติมิชอบในปัจจุบันได้ทวีความรุนแรง  และขยายวงกว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งมีความสลับซับซ้อนจนยากแก่การปราบปรามให้หมดสิ้นไปโดยง่าย  ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการโดยกำหนดให้ส่วนราชการภาครัฐยึดความโปร่งใส และหลักธรรมาภิบาล   ที่เป็นสากลในการปฏิบัติงาน  เพื่อให้การใช้ทรัพยากรในการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประเทศโดยรวมอย่างแท้จริง  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ส่วนราชการจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบให้หมดสิ้นไป  ด้วยการสร้างระบบการป้องกันและควบคุมการปฏิบัติงานภายในให้มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักความโปร่งใส  เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบภายในหน่วยงาน  และเพื่อให้ข้าราชการเป็นที่เชื่อถือศรัทธาและเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน
                   กรมการพัฒนาชุมชน  จึงได้กำหนดให้การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นมาตรการ   ที่สำคัญ ที่จะทำให้กรมการพัฒนาชุมชนมีการดำเนินงานอย่างโปร่งใสมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง และเป็นการพัฒนาและป้องกันการกระทำผิดวินัยของข้าราชการ  อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมปลูกจิตสำนึกให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่มีวินัย  ยึดมั่นในจริยธรรมคุณธรรม  และสร้างเสริมจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ทุ่มเทให้กับราชการ  จึงได้จัดทำโครงการ “พัฒนาชุมชนใสสะอาด” ขึ้น และกำหนดให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ดำเนินงานตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗
                   ในการนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก จึงได้ดำเนินการ โครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด ประจำปี ๒๕๕๗ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีขั้นตอนการดำเนินการ  ดังนี้
         ๑. ศึกษาแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาดของกรมการพัฒนาชุมชน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ , มาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต, หลักธรรมาธิบาลในการบริหารงาน,แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง,ค่านิยมองค์กรของกรมการพัฒนาชุมชน และหลักการมีส่วนร่วม
         ๒. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗
         ๓. จัดประชุมคณะทำงานการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด เพื่อออกแบบสอบถามให้บุคลากรแสดงความคิดเห็น  สรุปความคิดเห็นฯ  วิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนใสสะอาด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ให้ครบทั้ง    มิติ  ได้แก่
มิติที่ ๑ ด้านบทบาทผู้บริหารและความพยายามริเริ่มของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส
    ๑) ประกาศนโยบายในการสร้างความโปร่งใสให้เกิดขึ้นภายในหน่วยงานและเผยแพร่ให้
บุคลากร ประชาชนได้รับรู้ ในการประชุมบุคลากรและเครือข่าย และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
        ๒) กำหนดมาตรการ/แนวทางและผลการดำเนินงานในการสร้างความโปร่งใสของหน่วยงาน
๕ ด้าน ดังนี้ 
   (๑) ความโปร่งใสด้านการบริหารบุคคล
        - แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
        - กำหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งโยกย้าย บุคลากรของหน่วยงาน
   (๒) ด้านการพิจารณาความดีความชอบ
        - แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติราชการฯ
        - กำหนดหลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ
      - แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของบุคลากร
      - เผยแพร่หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดให้บุคลากรรับทราบและปฏิบัติ
  (๓) ความโปร่งใสด้านการบริหารงบประมาณ
       - จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงาน
       - แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๗
       - กำหนดให้มีการติดตามผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี และรายงานผลการ
ใช้จ่ายเงินฯเป็นประจำทุกเดือน
       - ประชุมชี้แจงแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณปี ๒๕๕๗ ในการประชุม/สัมมนา ,
ประจำประจำเดือน
       - อบรมให้ความรู้การจัดซื้อจัดจ้างในระบบ e-GP แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานการเงิน
ของ สพอ.
 (๔) ความโปร่งใสด้านการบริหารงาน
       - มีการกำหนดกลยุทธ์ แนวทาง และแผนปฏิบัติการในการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การ
ปฏิบัติ โดยผู้บริหารและคณะทำงานฯ
       - มีการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแนวทางกิจกรรมที่กรมฯ/จังหวัด
กำหนด
       - จัดทำโครงการ Meeting idea forum เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน
เดือนละ ๑ ครั้ง
       - ประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดประจำเดือน
       - ประชุมหัวหน้ากลุ่ม/ฝ่าย พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนประจำเดือน
        - ประชุมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนถ่ายทอดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน
       - แต่งตั้งคณะทำงานติดตาม สนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน/กลุ่มเป้าหมาย  
       - จัดทำระบบการรายงานในเว็บไซต์ สพจ.
       - มีการประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินงานตาม
โครงการ/กิจกรรมต่อผู้บริหาร         
(๕) ความโปร่งใสด้านการจัดการเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
     - ปรับปรุงระเบียบ แนวทาง และขั้นตอนในการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
     - มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ และดำเนินการจัดการ
เรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย แนวทาง ขั้นตอนที่กำหนด
     - เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แนวทางและขั้นตอนการดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนของ
หน่วยงานทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
     - จัดทำโครงการนวัตกรรมของจังหวัดในการสร้างความโปร่งใสขององค์กร ได้แก่
“ โครงการ การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและผู้นำกลุ่ม องค์กรชุมชนในการป้องกันการร้องเรียนและการทุจริต”
     - ดำเนินการ โครงการเสริมสร้างความผาสุกขององค์กร
     - จัดทำแผนและดำเนินการตามแผนการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงของ
หน่วยงาน
      - จัดตั้งตู้รับฟังความคิดเห็นการดำเนินงานของหน่วยงาน

     มิติที่ ๒  ด้านความเปิดเผยข้อมูล
๑) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำหรับให้บริการข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ แห่ง พรบ.ข้อมูล
ข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐ เพื่อบริการแก่ประชาชนและหน่วยงาน  โดยดำเนินการ ดังนี้
๒) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประจำศูนย์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารของ
หน่วยงาน
๓)  จัดทำป้ายบอกที่ตั้งศูนย์ข้อมูลฯ
๔) จัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามมาตรา ๙ แห่ง พรบ.ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
ไว้บริการ ได้แก่
  (๑) แผนงาน โครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  (๒) คู่มือ แนวทางการดำเนินงาน วิธีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานพัฒนาชุมชนที่มีผลกระทบ
ถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
     ๕) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในการประชุม /การจัดเวทีประชาคม และทางเว็บไซต์ของ สพจ./
สพอ. ระบบ OA และ เผยแพร่ข้อมูลในการจัดรายการวิทยุ
     มิติที่ ๓ ด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
          ๑) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชนผ่านช่องทางสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ สพจ./สพอ.
ระบบ OA  วิทยุ โทรทัศน์
                   ๒) แต่งตั้งผู้นำชุมชนให้เป็นคณะกรรมการจัดซื้อ/จัดจ้าง หรือตรวจรับพัสดุของโครงการ/
กิจกรรมที่ได้รับการจัดสรรจากกรมฯ/จังหวัด
๓) แต่งตั้งผู้นำชุมชนให้เป็นคณะกรรมการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม 
     มิติที่ ๔ ด้านการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาข้าราชการ
๑)      ทบทวนและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยา
ข้าราชการในปีที่ผ่านมา
๒) จัดทำแผนปฏิบัติเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาข้าราชการ ประจำปี ๒๕๕๗
๓) จัดทำโครงการ/กิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยยึดหลักคุณธรรม
จริยธรรม และจรรยาข้าราชการ
(๑)    กิจกรรมเข้าวัด ฟังธรรม  อย่างน้อย ๒ เดือน/ครั้ง
(๒) กิจกรรมคนดีที่อยากบอก  โดยการใช้แบบสอบถามให้ข้าราชการทุกคนประเมินเพื่อ
คัดเลือกผู้ที่ปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร ABCDEF S&P  
     มิติที่ ๕ ด้านสภาพแวดล้อมสถานที่ทำงาน
๑) แต่งตั้งคณะทำงานในการจัดกิจกรรม ๕ ส
๒) กำหนดมาตรการให้ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการ ครบทุกกิจกรรม ๕ ส
๓) กำหนดให้มีการสะสางเอกสารไม่ให้มีการวางบนโต๊ะก่อนกลับบ้าน
๔) กำหนดให้จัดระบบแฟ้มเอกสารให้สามารถเก็บเอกสารสะดวกและค้นหาได้ง่าย, กำหนด
จุดวางวัสดุ/อุปกรณ์ที่ต้องใช้ร่วมกัน
๕)      กำหนดให้ทุกคนทำความสะอาดโต๊ะทำงานของตนเองทุกวัน, รวมทั้งชั้นวางแฟ้มเอกสาร
และวัสดุ/อุปกรณ์ในความรับผิดชอบของตนเอง
๖) จัดกิจกรรมวันทำความสะอาด (Big Cleaning Day)  


         ๔. แจ้งแผนการดำเนินงานโครงการฯให้กลุ่มงาน/ฝ่ายและสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอรับทราบ และดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน
         ๕. กำหนดให้มีการคัดเลือกสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอใสสะอาด
         ๖. ติดตามผลการดำเนินงานจากการประชุมนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด และการประชุมหัวหน้า    กลุ่มงาน/ฝ่าย พัฒนาการอำเภอ และนักวิชาการพัฒนาชุมชนประจำเดือน
         ๗. สรุปผลการดำเนินงาน  รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชา และกรมการพัฒนาชุมชนรับทราบ
         ๘. เตรียมข้อมูล เอกสารหลักฐานเชิงประจักษ์เข้ารับการคัดเลือกหน่วยงานพัฒนาชุมชนใสสะอาดดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ของเขตตรวจราชการ ที่  ๑๗ 
ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)
๑. ผลสำเร็จของงานเชิงปริมาณ                                                                                ๑) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลกมีมาตรการ/แผนปฏิบัติการที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของข้าราชการ จำนวน ๕ มิติ  
                   ๒) บุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลกเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ด้วยการประพฤติ ปฏิบัติตนตามค่านิยมองค์กร ABCDEF S&P  จำนวน ๘๒ คน  คิดเป็น ร้อยละ ๑๐๐ ของบุคลากร
                   ๓) บุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และได้รับการยกย่องเป็นข้าราชการดีเด่นระดับจังหวัด
                   ๕) มีช่องทางการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์งานพัฒนาชุมชน  จำนวน    ช่องทาง  ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัด/อำเภอ  Facebook  ระบบ OA  ไลน์ และการจัดรายการวิทยุ  
     ๒ ผลสำเร็จของงานเชิงคุณภาพ
                   ๑) บุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลกตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการทุจริต ประพฤติมิชอบ และมีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนและจรรยาข้าราชการฯ โดยข้าราชการไม่มีเหตุการณ์ร้องเรียน
                    ๒) ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้


เจ้าของความรู้    นางภัทชญา  ศรีปาน  ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
                              สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น