Translate

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน

องค์ความรู้การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
บ้านวังไม้แก่น  หมู่ที่ ๑๐  ตำบลวังวน   อำเภอพรหมพิราม   จังหวัดพิษณุโลก
..........................
                                                                 
๒. สถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนได้รับประราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                สังคมชุมชนบ้านท่าช้าง มีความเป็นอยู่ตามวิถีชาวบ้าน เรียบง่าย  มุ่งมั่นกับการประกอบอาชีพหารายได้เพื่อดูแลครอบครัว  บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีไม่มากนัก  ทั้งเรื่องการเมืองการปกครองและการมีส่วนร่วมการกำหนดแผนพัฒนาหมู่บ้าน  ไม่มีเงื่อนไขข้อตกลงในการปฏิบัติที่จะอยู่ร่วมกัน  ในชุมชน   การแบ่งคุ้มบ้านมิได้กำหนดบทบาทอย่างชัดเจน  ภาระหนักในการดูแลปกครองชุมชนเป็นของผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น
                ปัญหาในชุมชนที่เกิดขึ้นทุกๆด้าน  ทุกคนละเลยมิได้ให้ความสำคัญที่จะหันหน้าปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดรอบบ้านที่ทวีความรุนแรง และเริ่มลุกลานเข้ามาในบ้าน เป็นปัญหาที่ทุกคนไม่กล้าเข้ามาช่วยแก้ไข  จากสถานการณ์ความเจริญทางเทคโนโลยีส่งผลต่อชุมชนโดยตรงเกิดการเปลี่ยนแปลงกระทบต่อคุณภาพชีวิต  ครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เริ่มเดือดร้อนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมืองการปกครอง  ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดมากขึ้น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตแย่ลงตามลำดับ
                จำนวนผู้เสพ จากกลุ่มวัยทำงาน   ผู้ว่างงาน  กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และขยายวงกว้างไปกลุ่มนักเรียนประถม  
                ผู้ค้ายาเสพติดจากภายนอกชุมชน และมีบ้างในกลุ่มเล็กๆที่จำหน่ายให้วัยรุ่น นักศึกษา  สภาพปัญหาความเดือดร้อนส่งผลกระทบกับครอบครัวผู้เสพ  ยังไม่กระทบถึงชุมชน


๓. กระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                     ชุมชนภาคภูมิใจในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานเงินกองทุนแม่เป็นกองทุนศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลแก่หมู่บ้าน ที่ได้เงินมาเป็นเงินขวัญถุง จึงมีแนวคิดนำเงิน 8,000  บาท ให้ประชาชนแรกไปทำเงินขวัญถุงเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัวตนเอง  ได้เงินมาทั้งสิ้น  23,000  บาท  เป็นกองทุนไว้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน  โดยได้เริ่มจากการดำเนินกิจกรรมดังนี้

      
                ๑. ปรับปรุงกิจกรรมคุ้มบ้านเข้มแข็ง โดยจัดตั้งคณะกรรมการประจำคุ้ม 5 คุ้ม  เข้ามามีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน  โดยยึดหลักการทำงานดังนี้
                                ๑)  ยึดหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
                                ๒) การกระจายอำนาจให้แต่ละคุ้มในการปกครองดูแลตนเองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
                                ๓) จัดเวทีประชาคม/ทำแผนงานโครงการ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ในชุมชน ค้นหาปัญหาและนำไปสู่การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
                                ๔) กระบวนการทำงานผ่านคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นศูนย์กลาง มอบงานให้เหมาะกับคน ตรงกับความรู้ความสามารถ
                                ๕)  คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนงาน
                                6) มีกฎระเบียบที่เป็นข้อตกลงร่วมกันเป็นกรอบการทำงาน
                                7) ติดตามประเมินผลสรุปผล จุดอ่อน  จุดแข็ง  แก้ไขปรับปรุงงาน ให้กำลังใจกันและกัน
                                8) สร้างทีมงานให้เข้มแข็ง/สร้างทีมใหม่ทดแทน ถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น เป็นนักปกครองรุ่นใหม่หัวใจรักแผ่นดิน
                2. จัดอบรมเยาวชน
                                -จัดทำข้อมูลเด็กเยาวชนทุกคุ้ม  คัดเลือกหัวหน้ากลุ่มเยาวชนเรียกว่า  ผู้ใหญ่บ้านน้อย เป็นผุ้ปกครองดูแลเยาวชนในหมู่บ้าน
                                -มีหน้าที่   1) ชวนน้องทำงาน ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชน  ในรูปแบบธนาคารขยะ
                                                    2)พาน้องเล่นกีฬา  เป็นกีฬาที่น้องชอบ  กีฬาการแข่งขันเรือยาวประเพณีพื้นบ้าน
                                                    3) มีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการเบี่ยงเบนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง อย่างได้ผล และยังได้มีการกำหนดแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบาย 5 รั้ว                                               รั้วโรงเรียน /ประสานการทำงานระหว่างคณะกรรมการโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง
                                                รั้วครอบครัว/ ส่งเสริมครอบรัวอบอุ่น เข้าทางพ่อ แม่ พี่ น้อง เข้าถึง เข้าใจ
                                                รั้วชุมชน/ เน้นกลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน สร้างชุมชนเข้มแข็ง
                                                รั้วสังคม/เน้นมาตรการกฎระเบียบจากเวทีประชาคม
                                                รั้วชายแดน/ ผู้ประสานพลังแผ่นดินร่วมจัดการ เป็นตาสับปะรด
กลไกการทำงานทุกๆรั้ว เพื่อรักษาส่วนดีไว้  แก้ไขส่วนผิดพลาด  ให้โอกาสคนที่กลับใจ มีทุนประกอบอาชีพให้ถ้ากลับใจ
                ๓. โครงการสร้างครอบครัวเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน  โดยเริ่ม  ปลูกผักในวงยางหน้าบ้านทั้งปี  เลี้ยงปลาในวงบ่อ  ส่งเสริมการประหยัดและอดออม  ออมเงินเดือนละ 3 ครั้ง  ทุกวันที่ 1,10,20  ของทุกเดือน
มีการจัดการทุน /บูรณาการรวมทุนในชุมชนเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
มีการจัดการหนี้ / ปรับโครงสร้างหนี้ ให้เป็น 1 ครัวเรือน 1 สัญญา  เพื่อให้สมาชิกสามารถผ่อนส่งได้ไม่ลำบาก  มีให้มาฝาก  ยากให้มาถอน  เดือดร้อนให้มากู้
มีการจัดสวัสดิการ/ ตั้งแต่เกิดมีของขวัญ  แก่มีแทนคุณ  ป่วยมีเยี่ยมไข้  ตายมีปลดหนี้
พัฒนาคน พัฒนาอาชีพ สู่ความมั่นคงยั่งยืน จากเดิมในน้ำ มีปลา ในนามีข้าว อุดมสมบูรณ์แบบเดิม  จำลองมาเป็นแบบใหม่ใกล้บ้าน  แบบเศรษฐกิจพอเพียง  พอมี  พอกิน  พอประมาณ    เช้าตื่นขึ้นมา  มีสติอยู่กับตัว มีทูนหัวอยู่ข้างๆ  มีสตางค์ในกระเป๋า  มีข้าวในหม้อ  มีปลาในวงบ่อ  มีผักในวงยาง  มีตู้เย็นหลังใหญ่ตั้งไว้หน้าบ้าน แบ่งปันกันทุกครอบครัว  ทำให้ชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข   ครอบครัวอบอุ่นหรรษา  มีหน้าบ้านน่าดู  ในบ้านน่าอยู่  หลังบ้านน่ามอง  จนถึงปัจจุบัน
                ๔..ปัญหา-อุปสรรค และข้อค้นพบ
                วิวัฒนาการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชน การใช้มาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรการของชุมชน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ประสิทธิภาพย่อมแตกต่างกัน  วิธีการที่เหมาะสมต้องเริ่มต้นจากจิตสำนึกของชุมชน และใช้วิธีแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยมาตรการทางกฎหมาย บูรณาการร่วมกันทั้งสองด้าน เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้หลักการวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของชุมชนดังนี้
                1)  สร้างเครือข่าย ทีมงาน สร้างจิตสำนึก  รู้รับผิดชอบชุมชน
                ๒)  ค้นหาข้อมูล แม่นยำ  ชัดเจน  ศึกษาข้อมูลรอบทิศให้ได้ข้อมูลผู้เสพ ผู้ค้า
                ๓)  เข้าใจ เข้าถึง   เข้าประชิดครอบครัวผู้เสพ  ผู้ค้า ให้ได้รับความไว้วางใจในการช่วยเหลือแก้ไข
                      เน้นวิธีการสันติวิธี  ดูแลโดยชุมชน
                ๔)  ประสานหน่วยงานราชการ ภาคี  องค์กรภายนอก  ให้การสนับสนุนเฉพาะส่วนที่ชุมชนต้องการ คือเกินความสามารถของชุมชน  เช่นในเรื่องของการบำบัด รักษา  เรื่องของการสนับสนุนอาชีพ ฯลฯ
                ๕)  มาตรการทางกฎหมายยังจำเป็นต้องใช้ ในบางกรณีที่ชุมชนไม่สามารถจัดการได้ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
                               
                ๖. ข้อเสนอแนะ
ปัจจัยที่ส่งผลให้หมู่บ้านกองทุนแม่เข้มแข็งต้องบูรณาการทุกด้านให้ครอบคลุม
                                1. จัดการคน สร้างจิตสำนึก ให้มีหน้าที่ มีส่วนร่วม (ทุกเพศ ทุกวัย)
                                2. จัดการทุนให้เป็นระบบ ในการดูแลบูรณาการทุนในชุมชน ในรูปแบบของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
                                3. จัดการเศรษฐกิจ ให้ได้เรียนรู้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้จากแนวทางหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔. จัดการหนี้ ให้สมาชิกในชุมชนปรับโครงสร้างหนี้  1  ครัวเรือน  1  สัญญา มีแนวทางปลดหนี้              
                                5. จัดสวัสดิการเพื่อคนในชุมชน ครบถ้วน ทั่วถึง ครอบคลุม  เกิดแก่เจ็บตาย
                                6. จัดการหมู่บ้าน/ชุมชน อยู่อย่างพอเพียง  เข้มแข็งพร้อมรับปัญหา สู่ความยั่งยืน


------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น