Translate

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557

ประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด

ประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด
ชื่อนามสกุล นายสิปปภาสส์ พงศ์จันทร์เทศ
ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
เบอร์โทรศัพท์ 087-7335818
ชื่อเรื่อง ประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน ขจัดสิ้นยาเสพติด
เนื้อเรื่อง
กองทุนแม่ของแผ่นดิน เป็นกองทุนที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ผ่านเลขาธิการ ป.ป.ส. พระราชทรัพย์ที่ได้รับพระราชทานนั้นถือเป็นมงคลสูงสุด เป็นเสมือนพระราชปณิธานของพระองค์ที่ทรงจะให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชน พระราชทรัพย์ซึ่งเป็นเงินขวัญถุงพระราชทาน ถือว่าเป็นเงินที่มีความศักดิ์สิทธิ์จะต้องคงอยู่ชั่วลูกหลาน จังหวัดพิษณุโลกได้ดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๘๒๕๕3 จำนวน ๑26 กองทุน เงินทุนพระราชทาน 3,449,500 บาท ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๒๐ กองทุน เงินทุนจากรัฐบาล ๒๐๐,๐๐๐ บาท
กรมการพัฒนาชุมชน ให้มีการประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อจัดระดับของกองทุนแม่ของแผ่นดิน 3 ระดับ คือ ระดับ A (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ ระดับ B (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพในบางด้านจะสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ และระดับ C (คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50) กองทุนแม่ของแผ่นดินที่ต้องมีการปรับปรุง
แบบตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน (การประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน) มีตัวชี้วัดด้วยกัน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีทั้งหมด 9 ข้อ ส่วนที่ 2 แบบประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน มีประเด็น/ตัวชี้วัด ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การบริหารจัดการกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 5 ตัวชี้วัด ประเด็นที่ 2 การบริหารเงินกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด ประเด็นที่ 3 การดำเนินงานด้านยาเสพติด จำนวน 6 ตัวชี้วัด และประเด็นที่ 4 การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 4 ตัวชี้วัด
กระบวนการรวบรวมองค์ความรู้
การดำเนินงาน 9 ขั้นตอนสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด
ขั้นตอนที่ 1 : คัดเลือกชุมชน เป้าหมายเน้นพื้นที่ซึ่งประชาชนค่อนข้างพร้อมที่จะมีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนเข้มแข็งตัวอย่างกรณีมีชุมชนตัวอย่างอยู่แล้ว ก็ใช้เป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆ ต่อไป ในรูปแบบของศูนย์การเรียนรู้ ดูงาน หรืออาจสนับสนุนให้แกนนำชุมชนเข้มแข็งดังกล่าวพัฒนาบทบาทเป็นวิทยากรกระบวนการเพื่อขยายแนวทางไปสู่ชุมชนอื่น ๆ
ขั้นตอนที่ 2 : สืบสภาพชุมชน เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลที่สำคัญของชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม ผู้คน สังคม เศรษฐกิจ ขนบธรรมเนียมประเพณีและปัญหาของชุมชนโดยสังเขป ซึ่งนอกจากการพบปะพูดคุยกับชาวบ้านตามครัวเรือนแล้ว วิทยากรกระบวนการอาจอาศัยโอกาสต่าง ๆ เพื่อเปิดเวทีย่อย เพื่อเผยแพร่แนวคิดแนวทางว่ามาตรการปราบปรามเพียงลำพังไม่สามารถแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในชุมชนได้จำเป็นต้องอาศัยพลังสามัคคีจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อดูแลชุมชนของคนเอง
ขั้นตอนที่ 3 : คัดเลือกชุมชน เป้าหมายเน้นพื้นที่ซึ่งประชาชนค่อนข้างพร้อมที่จะมีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งเป็นชุมชนแนวทางให้กับผู้นำชุมชน โดยเฉพาะ การเน้นบทบาทของผู้นำธรรมชาติ แต่ไม่ได้มองข้ามความสำคัญของผู้นำทางการ ซึ่งต้องประสานสอดคล้องกันเพราะในขณะที่ผู้นำทางการเหมาะสมที่จะเป็นผู้ประสานที่ดีระหว่างชุมชนกับหน่วยราชการ ผู้นำธรรมชาติซึ่งมาจากศรัทธาของชาวบ้านจะสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริงจึงเหมาะสมที่จะเป็นแกนหลักขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็ง
ขั้นตอนที่ 4 : เลือกผู้นำธรรมชาติ (เวทีประชาคมครั้งแรก) เป็นการจัดเวทีประชาคมครั้งแรกเพื่อให้ชาวบ้านคัดเลือก คณะผู้นำธรรมชาติของชุมชน โดยควรมีครัวเรือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 มาร่วมประชุม เพื่อเป็นเสียงส่วนใหญ่ของชุมชนอย่างแท้จริง วิทยากรกระบวนการจะต้องตอกย้ำความเข้าใจถึงแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็งให้กับชาวบ้าน จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการคัดเลือกโดยมีหลักการคือ เป็นคนในชุมชนที่ชาวบ้านนับถือ ศรัทธาหรือหวังพึ่งยามทุกข์ยาก ซึ่งต้องไม่ใช่ผู้นำทางการ ข้าราชการหรือนักการเมืองท้องถิ่นด้วยวิธีการใช้แบบสอบถาม 10 ข้อ เพื่อครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ อย่างครบถ้วน สาระสำคัญคือหากชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนหรือมีปัญหาต่าง ๆ จะไปปรึกษาใคร ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะเป็น ประธานชุมชนเข้มแข็งส่วนที่ได้คะแนนรองลงไปก็เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งจำนวนกรรมการขึ้นอยู่กับขนาดของชุมชนและขนาดของปัญหายาเสพติด โดยใช้สัดส่วนของกรรมการต่อครัวเรือน 1 : 2 ถึง 1 : 5เพื่อให้สามารถดูแลชุมชนได้อย่างทั่วถึง
ขั้นตอนที่ 5 : รณรงค์ประชาสัมพันธ์ การสร้างชุมชนเข้มแข็งนั้นจำเป็นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนส่วนใหญ่ในชุมชนและด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวดองเป็นเครือญาติกันทั้งผู้เสพ-ผู้ค้า-ชาวบ้านทั่วไป จึงต้องใช้ สันติวิธีในการทางานเพื่อไม่ให้กระทบกระทั่งบาดหมางกัน ดังนั้นหลักสำคัญของการรณรงค์ประชาสัมพันธ์คือให้ทุกครัวเรือนเข้าใจแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดและขยายความร่วมมือของชาวบ้านมาเป็นแนวร่วมดำเนินการให้มากที่สุด โดยสร้างความเข้าใจว่าคณะกรรมการไม่ได้มุ่งที่จะต่อต้านใคร แต่จะช่วยเหลือให้โอกาสทุกคนเพื่อสร้างความสุขความเจริญให้กับชุมชน
ขั้นตอนที่ 6 : คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (เวทีประชาคมครั้งที่ 2) ด้วยแนวคิดที่ว่า ปัญหายาเสพติดอยู่ที่ผู้เสพและผู้ค้า โดยผู้เสพเป็นฐานให้แก่ผู้ค้าหากไม่มีผู้เสพ ผู้ค้าก็อยู่ไม่ได้กรรมการแต่ละคนจึงสอดส่องดูแลเครือข่ายบ้านที่ตนรับผิดชอบว่าผู้ใดเป็นผู้เสพ-ผู้ค้า-ผู้ผลิต รวมทั้งที่มีพฤติกรรมน่าสงสัย แต่จะไม่ใช้วิธีกดดันหรือกระทำการใด ๆ ต่อบุคคลดังกล่าว เช่น ตรวจปัสสาวะหรือการค้นบ้าน เพื่อไปสู่กระบวนการ คัดแยกผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดในชุมชนซึ่งอาศัยหลักการคัดแยกเพื่อให้การช่วยเหลือมิใช่เพื่อนำมาลงโทษการใช้คณะกรรมการในสัดส่วนที่ดูแลทุกครัวเรือนได้ทั่วถึง ทำให้มีความสามารถที่จะคัดแยกทั้งชุมชนได้อย่างถูกต้องแม่นยำ วิธีการคือคณะกรรมการจัดประชุมและให้กรรมการ แต่ละคนกรอกชื่อที่ได้มาลงในแบบสอบถามแล้วหย่อนลงกล่องกระดาษเพื่อไม่ให้รู้ว่ากรรมการคนไหนกรอกชื่อใคร เมื่อครบแล้วจึงเปิดกล่องนำทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันเพื่อจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
ขั้นตอนที่ 7 : การรับรองครัวเรือน (เวทีประชาคมครั้งที่ 3) เป็นการประชุมเพื่อรับรองครัวเรือนซึ่งแยกบัญชีไว้ว่าไม่มีสมาชิกอยู่ในรายชื่อผู้มีพฤติการณ์ โดยคณะกรรมการอ่านรายชื่อของสมาชิกแต่ละครัวเรือน หากครัวเรือนใดไม่ได้รับเสียงรับรองเป็นเอกฉันท์ ก็นำรายชื่อผู้เกี่ยวข้องหรือต้องสงสัยไปปรับเพิ่มในบัญชีผู้มีพฤติการณ์ซึ่งไม่ได้หมายความว่าครอบครัวนั้นไม่ดี แต่เป็นการรอตรวจสอบให้มั่นใจแล้วค่อยรับรองในโอกาสต่อไป
ขั้นตอนที่ 8 : ใช้มาตรการทางสังคม เป็นขั้นตอนการดำเนินการต่อผู้มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งจะได้วิธีโน้มน้าวชักจูงทั้งผ่านสื่อรณรงค์และการพบปะของคณะกรรมการเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นมาแสดงตัวเพื่อประกาศว่าจะเลิกเสพเลิกค้า ด้านผู้มีพฤติกรรมเมื่อถูกกดดันจากสังคม ก็จะเริ่มทยอยมาแสดงตัวกลับใจ
กรณีที่เป็นผู้เสพก็จะมีการบาบัดรักษาตามความจำเป็นและความเหมาะสมของแต่ละรายไป สังคมชุมชนมีบทบาทในการสอดส่องดูแลช่วยเหลือให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจึงเป็นระบบควบคุมพฤติกรรม แต่ไม่ควบคุมตัวหัวใจสำคัญของการช่วยเหลือผู้เสพก็คือ บรรยากาศความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในชุมชนและครอบครัว ผู้เสพจำนวนมากมีอาการดีขึ้นด้วยการบำบัดทางการแพทย์ แต่สามารถเลิกยาได้เด็ดขาดด้วยการบำบัดของชุมชนดังกล่าว
ขั้นตอนที่ 9 : รักษาสถานะชุมชนเข้มแข็งเป้าหมายสูงสุดของการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ได้ อยู่ที่การทำให้ชุมชนปลอดยาเสพติดอย่างรวดเร็ว หากแต่เป็นการทำให้ชุมชน ปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน ดังนั้น บทบาทของคณะกรรมการชุมชนเข้มแข็งจึงต้องเป็นแกนนำในการระดมความร่วมมือร่วมใจของทุกคนในชุมชนเพื่อช่วยกันสอดส่อง เฝ้าระวังป้องกันไม่ให้ยาเสพติดหวนกลับมาอีกโดยการประชุมประชาคมเพื่อรับรองครัวเรือนปลอดภัยยาเสพติดเป็นประจาทุกเดือนรวมทั้งต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นภูมิคุ้มกันยาเสพติดระยะยาวและเป็นการรักษาสถานะชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
เนื้อหาองค์ความรู้และการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดพิษณุโลก
๑. กองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดพิษณุโลก
กองทุนแม่ของแผ่นดิน เริ่มดำเนินการเมื่อปี ๒๕๔๘๒๕๕3 จำนวน ๑26 กองทุน เงินทุนพระราชทานจำนวน 3,449,500 บาท (สามล้านสี่แสนสี่หมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน) มีทุนศรัทธาทั้งสิ้น 1,492,596 บาท (หนึ่งล้านสี่แสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยเก้าสิบหกบาทถ้วน) ทุนปัญญา 308,258 บาท (สามแสนแปดพันสองร้อยห้าสิบแปดบาทถ้วน) ปี 2555 มีกองทุนหมู่บ้านเพิ่มขึ้นอีก 20 กองทุน ได้รับเงินกองทุนจากรัฐบาลสมทบให้กองทุนละ 10,000 บาท ราษฎรสมทบกองทุนละ 8,000 บาท ปัจจุบันมีกองทุนแม่ของแผ่นดิน จำนวน 146 กองทุน รวมเงินทุนพระราชทานทั้งสิ้น 3,649,500 บาท มีสมาชิก 1,82คน เงินทุนทั้งหมด 5,610,354บาท (ห้าล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามร้อยห้าสิบสี่บาทถ้วน)
2. ผลการประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน
การประเมินสถานะเพื่อการพัฒนากองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการตรวจสุขภาพกองทุนแม่ของแผ่นดิน เพื่อจัดระดับกองทุนแม่ของแผ่นดิน 3 ระดับ คือ
ระดับ A (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวังอย่างยั่งยืน สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ จำนวน 45 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 30.82
ระดับ B (คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 แต่ไม่ถึงร้อยละ 80) หมายถึง กองทุนแม่ของแผ่นดินเข้มแข็ง หมู่บ้าน/ชุมชนมีระบบเฝ้าระวัง หากได้รับการพัฒนาศักยภาพในบางด้านจะสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ จำนวน 87 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 59.58
ระดับ C (คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50) กองทุนแม่ของแผ่นดินที่ต้องมีการปรับปรุง จำนวน 14 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 9.60
3. การขยายศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ให้เป็นแบบอย่างการพัฒนาและการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน การดำเนินงานศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน ในการคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีความพร้อมเข้ารับพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี สำนักงาน ป.ป.ส. ให้จังหวัดคัดเลือกหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น ที่ได้รับกองทุน และมีผลการดำเนินงานที่มีความโดดเด่น สามารถเป็นต้นแบบให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่น จังหวัดละ 1 หมู่บ้าน และได้รับพระราชทานเงินขวัญถุงเพิ่มอีกจำนวน ๒๐,000 บาท โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 255๒ จนถึงปัจจุบันมีกองทุนแม่ของแผ่นดินดีเด่น จำนวน ๔ กองทุน ได้แก่ กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าช้าง อำเภอพรหมพิราม กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านไร่ อำเภอบางกระทุ่ม กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๕ ตำบลบางระกำ อำเภอบางระกำ กองทุนแม่ของแผ่นดินดีมาก จำนวน ๕ ได้แก่ กองทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๓ ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๖ ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมืองพิษณุโลก กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๕ ตำบลนครไทย อำเภอนครไทย กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๖ ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่ที่ ๙ ตำบลป่าแดง อำเภอชาติตระการ
4. การเสริมสร้างความมั่นคงให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดพิษณุโลกร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในการขับเคลื่อนงานเสริมสร้างความมั่นคงให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๑๐๔,๐๐๐ บาท ดำเนินการดังนี้
1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่จังหวัดพิษณุโลก เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบกองทุนแม่ของแผ่นดิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามกระบวนการชุมชนเข้มแข็งด้วยกระบวนการ 9 ขั้นตอน จำนวน ๓5 คน เพื่อให้ลงพื้นที่ดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ของแต่ละอำเภอในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในระดับอำเภอเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรม 3 เวที ดังนี้
เวที 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน กลุ่มเป้าหมายคือ หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่ได้รับพระราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี 25๔๘-2553 จำนวน 1๒๖ หมู่บ้าน
เวที 2 ส่งเสริมการถอดบทเรียนศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี255๖ อำเภอละ๑ ศูนย์ฯ ดังนี้ บทเรียนที่ 1 ระบบการบริหารกองทุนแม่ของแผ่นดิน  บทเรียนที่ 2 รูปแบบ/วิธีการเอาชนะยาเสพติดด้วนสันติวิธี และบทเรียนที่ 3 การใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและปัญหาพื้นฐานที่เป็นความเดือดร้อนอื่นๆ
เวที 3 การเสริมสร้างความเข้มแข็งหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน (หมู่บ้านที่มีความพร้อมที่จะเป็นกองทุนแม่ของแผ่นดิน) ด้วยแนวทาง ดังนี้ 1) สร้างความเข้มแข็งด้วยกระบวนการ 9 ขั้นตอนสู่การพึ่งพาและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยสันติวิธี และประเมินความพร้อมการเข้าสู่หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน ๑๒ ตัวชี้วัด 2) พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้านต้นกล้ากองทุนแม่ของแผ่นดิน ปี ๒๕๕๖ จำนวน ๕๐ หมู่บ้าน ปี ๒๕๕๗ จำนวน ๕๐ หมู่บ้าน

5. ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดพิษณุโลก มาจากประเด็นที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1) ผู้ริเริ่ม (วิทยากรกระบวนการ) เริ่มต้นของแนวคิดการทำงาน การขับเคลื่อนกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาจากแนวคิดของภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกทำให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ
2) คณะกรรมการกองทุนแม่ของแผ่นดินมีความเข้มแข็ง
3) กระบวนการการมีส่วนร่วม ความสำเร็จอย่างยั่งยืนย่อมไม่ใช่ฝีมือของผู้ใดผู้หนึ่ง แต่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในแก้ไขปัญหายาเสพติด ทั้งภาคราชการและภาคประชาชน ภาคราชการนับเป็นปัจจัยสำคัญในการคุ้มครองส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนากำลังความสามารถในการช่วยเหลือดูแลชุมชนของตนเอง และภาคประชาชน ทั้งคณะกรรมการกองทุนแม่ฯ ผู้นำธรรมชาติ ฯลฯ โดยเฉพาะวิทยากรกระบวนการภาคประชาชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
4) การใช้แนวคิดพึ่งพาตนเอง ของคนในชุมชนเป็นหลักในการดำเนินงานในลักษณะของ ชุมชนดูแลชุมชนไม่รอความช่วยเหลือจากภายนอก แต่มีความพร้อมจะลงมือคิด ลงมือทำ และร่วมมือกับทุกฝ่าย ไม่มีใครรู้ปัญหาในชุมชนได้ดีไปกว่าคนในชุมชนเอง ทุกคนต้องช่วยกัน เป็นหู เป็นตา กล้าคิด กล้าเสนอปัญหา กล้าพูดความจริง เพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริงจะได้แก้ไขตรงจุด เน้นการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหามากกว่าการทำงานเพียงให้เกิดกิจกรรมขึ้นมา หากมีผู้เสพ ผู้ค้า อยู่ในชุมชนต้องดำเนินงานลดจำนวนผู้เสพผู้ค้าอย่างมีเป้าหมายชัดเจนสามารถวัดผลได้
5) ควรแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี โดยใช้สติแก้ปัญหาด้วยหลักพลังแผ่นดินซึ่งจะต้องเกิดจากความรัก ความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน รู้จักการให้อภัย ให้โอกาสแก่ผู้ผิดพลาด ให้ความเข้าใจช่วยเหลือ ดูแลซึ่งกันและกัน
6) ความต่อเนื่องของกิจกรรมเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง ควรมีการประชุมประชาคมเป็นประจำ เพื่อเป็นเวทีในการติดตามแก้ไขปัญหายาเสพติด และหยิบยกปัญหาเดือดร้อนอื่นๆ ของหมู่บ้านมาร่วมกันพิจารณา เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป
ผลการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ (นำไปใช้แล้วมีผลอะไรเกิดขึ้นบ้าง)
การแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวทางการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดถือเป็นแนวทางเดียวกับการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพราะถ้าชุมชนเข้มแข็ง ยาเสพติดก็จะอยู่ในชุมชนนั้นได้ยาก ซึ่งจะต้องทำในหลายเรื่องพร้อมกัน ที่สำคัญ ได้แก่
1) ภาคราชการให้ความสำคัญอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2) ต้องมีการกระตุ้นจิตสำนึก ให้สมาชิกช่วยกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและพัฒนาชุมชนในด้านอื่นๆ พร้อมกันไปไม่ใช่เฉพาะปัญหายาเสพติดเพียงอย่างเดียว
3) ผู้นำมีความเข้มแข็งและจริงจัง
4) มีกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะกระบวนการค้นหาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาโดยเชื่อมโยงกับปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นในชุมชนและแก้ไขโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้
5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดูแลคนและปัญหาของตนเอง
6) การสร้างเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดิน โดยการชักชวนกองทุนแม่ฯ อื่นให้มาร่วมกระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยกัน นั้นถ้ากองทุนแม่ฯ กองทุนใดกองทุนหนึ่งทำ แต่กองทุนแม่ฯ อื่น ๆ ไม่ทำ กองทุนแม่ฯ นั้นก็จะเป็นแหล่งระบาดของยาเสพติดและจะกลับเข้ามาสู่กองทุนแม่ฯ ทันทีเมื่อกองทุนแม่ฯ นั้นอ่อนแอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น