Translate

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเตรียมความพร้อมการยกเลิกการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างด้วยมือ (Manual) ด้านบัญชีสินทรัพย์ถาวรและขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุและครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ : บุญธรรม สุภารัตน์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ. พิษณุโลก



การเตรียมความพร้อมการยกเลิกการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างด้วยมือ (Manual)
ด้านบัญชีสินทรัพย์ถาวรและขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุและครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ
                    
          เจ้าหน้าที่พัสดุ  มีหน้าที่ควบคุม  ดูแล  รักษาวัสดุครุภัณฑ์ของสำนักงาน ฯ  ดังนั้น  การศึกษาแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานดังกล่าว  จึงมีความจำเป็น  และสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งในปีงบประมาณ  2557  กรมการพัฒนาชุมชน  มีแนวทางยกเลิกการจัดทำบัญชีเกณฑ์คงค้างด้วยมือ  ด้านบัญชีสินทรัพย์  ดังนั้น  เราจึงควรศึกษาข้อมูล  ดังต่อไปนี้
           1.  การควบคุม  การปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรมการบันทึกข้อมูลสินทรัพย์ถาวร  ผ่าน GFMIS Web  Online  โดยอายุการใช้งาน  และอัตราค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน  ให้ใช้ค่าที่กำหนดจากกรมการพัฒนาชุมชน เริ่มบันทึกผ่าน GFMIS ตั้งแต่วันที่  1  มิถุนายน 2557  เป็นต้นไป  และบันทึก ฯ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าขั้นต่ำที่กำหนด 5,000 บาท ขึ้นไป  ทั้งนี้  สินทรัพย์แต่ละรายการอาจมีมูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  แต่มูลค่าโดยรวมของสินทรัพย์ประเภทนั้น  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็ให้นำมารวมกันและรับรู้เป็นประเภทของสินทรัพย์นั้นๆ เช่น  ครุภัณฑ์สำนักงาน (ชุดรับแขก) ชุดเครื่องเสียง  เป็นต้น ส่วนกรณีเป็นครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าไม่ถึง 5,000  บาท  ไม่ต้องบันทึกในระบบ GFMIS แต่ให้ควบคุมในทะเบียนคุมสินทรัพย์  โดยบันทึกบัญชีค่าครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์  และไม่ต้องบันทึกสินทรัพย์ย้อนหลัง
  2.  ขั้นตอนการจำหน่ายพัสดุและครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ  มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
      ขั้นตอนที่ 1
      1)  ตรวจสอบพัสดุประจำปี                                                                           
      2)  ในกรณีถ้ามีวัสดุของทางราชการเกิดการชำรุดเสื่อมคุณภาพ  หรือสูญไป  หรือไม่จำเป็นต้องใช้ในราชการต่อไป  ก่อนมีการตรวจสอบประจำปี   (ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  พ.ศ.2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 155)                                             
      3)  ถ้าพบตามข้อ 1 หรือ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริง หรือ 
 คณะกรรมการกำหนดราคากลางอย่างน้อยชุดละ 3 คน (ตามระเบียบสำนักนายกฯ ข้อ 156)
      4)  คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง  รายงานผลต่อหัวหน้าส่วนราชการ  พร้อมแนบรายการพัสดุและครุภัณฑ์ที่จะจำหน่ายทุกชนิด  พร้อมภาพถ่ายสี (สำหรับรถยนต์ 5 ภาพ ด้านหน้า หลัง ซ้าย ขวาและตัวเครื่อง)  ระบุ  ประเภทและชื่อพัสดุ-ครุภัณฑ์  เลขที่สินทรัพย์ในระบบ GFMIS รหัสครุภัณฑ์  อายุการใช้งาน  และสำเนาคู่มือทะเบียนรถ
      5)  กรณีขอจำหน่ายรถยนต์  เห็นควรสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ให้สำนักงานขนส่งจังหวัด  เป็นผู้ประเมินราคารถยนต์  เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
      6)  เมื่ออนุมัติให้จำหน่ายแล้ว  เจ้าหน้าที่พัสดุแจ้งคณะกรรมการกำหนดราคากลาง  เพื่อกำหนดราคากลางเพื่อจำหน่ายต่อหัวหน้าส่วนราชการ
      7)  จังหวัดแจ้งขอความเห็นชอบจำหน่ายและราคากับกรมฯ (หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ)
      ขั้นตอนที่ 2
      1.  เมื่อจังหวัดได้รับแจ้งผลการอนุมัติให้จำหน่าย  ให้บันทึกแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ดำเนินการจำหน่ายพัสดุและครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ
      2.  จัดทำประกาศจำหน่ายพัสดุและครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพ
-2-
     3.  สำเนาประกาศฯ แจ้งกรมฯ และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด  เพื่อปิดประกาศในที่เปิดเผยล่วงหน้า 10 วัน ก่อนวันจำหน่าย (ตามระเบียบสำนักนายกฯ ข้อ 110)
     ขั้นตอนที่ 3
     1.  เมื่อจำหน่ายแล้ว  เจ้าหน้าที่การเงินออกใบเสร็จรับเงินและนำส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดิน  และบันทึกข้อมูลในระบบ GFMIS
     2.  เจ้าหน้าที่พัสดุ  ตัดจ่ายพัสดุที่จำหน่ายได้ออกจากทะเบียนคุมทันที
     3.  กรณีจำหน่ายไม่ได้  เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินราคากลาง ให้แจ้งกรมฯ เพื่อให้ใช้วิธีสอบราคาซื้อโดยอนุโลม  แต่ถ้าพัสดุและครุภัณฑ์มีราคาซื้อหรือได้มาครั้งนั้นรวมกันไม่เกิน 100,000 บาทให้ใช้วิธีตกลงราคา  โดยไม่ต้องแจ้งกรมฯ  เพื่อขอปรับราคาลดลง (ตามระเบียบสำนักนายกฯข้อ 157)
     4.  แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบ  ภายใน 30 วันนับแต่วันลงจ่ายพัสดุ (ตามระเบียบสำนักนายกฯ ข้อ 160)
     ขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมดนี้  เจ้าหน้าที่พัสดุจะได้ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษา  เพื่อเป็นแนวทางการทำงาน   ลดเวลาในการทำงาน  และผู้สนใจได้เรียนรู้พร้อมสร้างความเข้าใจร่วมกัน

                                                       นางบุญธรรม  สุภารัตน์ 
                                                     นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ.พิษณุโลก
                                                                    พฤษภาคม   ๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น