Translate

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิธีการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าสะแก : นายณัฐพงษ์ ผิวบาง

ชื่อความรู้เรื่อง วิธีการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าสะแก
เจ้าของความรู้ชื่อ – สกุล นายณัฐพงษ์  ผิวบาง
ที่อยู่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชาติตระการ  จังหวัดพิษณุโลก
lโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  บ้านน้อย  หมู่ที่  ๓   ตำบลท่าสะแก  อำเภอชาติตระการ  จังหวัดพิษณุโลก
lมีวัตถุประสงค์ - เพื่อส่งเสริมการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีระบบบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
lวิธีการดำเนินงาน - ดำเนินงานตามโครงการฯ  ๓  กิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ ๑  ส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงระดับ"พออยู่ พอกิน"          
      ๑.๑) ประชุมเชิงปฏิบัติการ/สัมมนาเป็นผู้แทนครอบครัวพัฒนา ให้การเรียนรู้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ระยะเวลา ๑ วัน
                 ๑.๒) ศึกษาดูงานประสบการณ์การพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ(บ้านพี่)  ๑ – ๒ หมู่บ้าน ระยะเวลา   ๑  วัน
กิจกรรมที่ ๒ การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน
       ๒.๑) ประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้การบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ สร้างความตระหนักในสภาพของครอบครัวและหมู่บ้าน ๑ วัน  
       ๒.๒). กิจกรรมสาธิต   -สาธิตกิจกรรมการดำรงตามวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงระดับ "พออยู่ พอกิน"
๒ กิจกรรม รวม ๒ วัน
กิจกรรมที่ ๓ การเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
       ๓.๑) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการถอดองค์ความรู้ที่ได้จากการพัฒนา ประเมินระดับการพัฒนาหมู่บ้าน เวลา ๑ วัน
lกลุ่มเป้าหมาย -เป็น ผู้นำชุมชน/ผู้แทนครอบครัวพัฒนาบ้านน้อย  ๓๐ คน
lระยะเวลาดำเนินการ  - กิจกรรมที่ 1  ดำเนินการในวันที่ ๒๑  - ๒๒ มกราคม ๒๕๕๗ 
                            - กิจกรรมที่ 2  ดำเนินการในวันที่ ๒๗ – ๒๘ และ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๗
                            - กิจกรรมที่ 3  ดำเนินการในวันที่ ๑๔  กรกฎาคม 2557
lงบประมาณดำเนินการ  -ได้รับจัดสรรจากรมการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านละ 89,800 บาท(แปดหมื่นเก้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)  เป็นค่าใช้จ่าย 3 กิจกรรมย่อย ตามรายละเอียดแนบท้ายโครงการ ดังนี้  
vกิจกรรมที่ 1   ส่งเสริมครอบครัวพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง   เป็นเงิน  18,800  บาท
vกิจกรรมที่ 2   การเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการชุมชน         เป็นเงิน  65,000  บาท
vกิจกรรมที่ 3   การเตรียมการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ    เป็นเงิน   6,000  บาท
lผลที่คาดว่าจะได้รับ  -หมู่บ้านนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในกระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
lตัวชีวัดกิจกรรม   -หมู่บ้านได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย และมีระดับความ อยู่เย็น เป็นสุขหรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน(Gross Village Happiness : GVH) เพิ่มขึ้น 
vบ้านน้อย หมู่ที่ ๓ ตำบลท่าสะแกในอดีต
-ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างทำมาหากินเลี้ยงชีพ   - ไม่มีจุดยืนหรือเป้าหมาย   - การประกอบอาชีพตามบรรพบุรุษ(พอฝนตกก็ไปทำนา-ทำไร่)   - ไม่เข้าใจคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คิดว่าให้ปลูกผักปลูกหญ้ากิน
vหลังจากอบรมตามโครงการขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ปี ๒๕๕๗
 - มีความเข้าใจคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” เข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 - การทำงานมีการวางแผน มีเป้าหมาย    - ได้เรียนรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายครอบครัว
vสิ่งที่ทำแล้วดี ดังนี้
 
- การปลูกผักปลอดสารพิษ    - เรียนรู้วิธีเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย   - ได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพและวิธีใช้
 - มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทำให้เกิดความสามัคคีเพิ่มมากขึ้น
vจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น
 - ปลูกผักปลอดสารให้ได้ทั้งปี ปกติฤดูฝนจะทำไม่ได้ ต้องทำโรงเรือนป้องกันฝน
 -การเพาะเห็ดฟาง  ได้ผลผลิตดี แต่วัตถุดิบฟางข้าวเก็บไว้ไม่เพียงพอ  ต่อไปต้องเก็บฟางไว้ให้มากขึ้นไว้ใช้เพาะเห็ดได้ตลอดทั้งปี
 - ทำสารไล่แมลง โดยไม่ต้องใช้สารเคมีไล่แมลง
vปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่ผ่านมา
 
- ไม่มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเพียงพอ     - การทำกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ขาดระบบบริหารจัดการที่ดี
vวิธีแก้ปัญหา
 - ส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้ระบบบริหารจัดการ  รู้จักการวางแผนที่เป็นระบบ
บทสรุปจากผลการดำเนินงาน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ     -การปรับใจ เปลี่ยนมุมมอง   ตระหนักในความจำเป็นที่ต้องใช้ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ต้องเชื่อมั่น ยืนหยัด ไม่หวั่นไหวต่อกระแสบริโภคนิยม  ครัวเรือนจะต้องเชื่อมั่นและศรัทธาในเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้  ต้องลงมือทำด้วยตนเองจนประสบผลสำเร็จจึงจะน่าเชื่อถือสามารถบอกคนอื่นทำตามได้  ต้องเริ่มทีละขั้นทีละตอนต้องใจเย็น 
บทเรียนจากการทำงาน
  การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรต้องมีความรู้/ประสบการณ์มากล้ำลึกรู้จริง  มีความเชื่อมั่นศรัทธา   ความพร้อมของแกนนำครอบครัวที่จะต้องคัดเลือกคนที่มีเวลาและความร่วมมือดีจะช่วยให้งานสำเร็จมากขึ้นสามารถไปขยายผลให้กับครอบครัวอื่นได้ดี   สื่ออุปกรณ์การนำเสนอจะต้องดีมีอย่างเพียงพอพร้อมกับการใช้งาน  สำหรับการ
ศึกษาดูงานการพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงต้องดูงานจากแหล่งที่ประสบผลสำเร็จแล้วและสามารถปรับแนวคิดได้จริงจึงจะสามารถทำให้โครงการนี้สำเร็จ ซึ่งการดูงานจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ(บ้านพี่)  ซึ่งมีประสบการณ์ยังไม่เพียงพอในการเรียนรู้ของครอบครัวที่มาศึกษาดูงานอาจทำให้การดำเนินงานโครงการไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรจะเป็น
กลเม็ดเคล็ดลับ
   การพัฒนาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถ้าไม่สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อก่อให้เกิดความศรัทธาได้ พฤติกรรมหรือการกระทำก็จะไม่เปลี่ยน  สิ่งที่จะต้องทำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคลให้ได้

ผู้บันทึกองค์ความรู้  นายณัฐพงษ์  ผิวบาง   ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอชาติตระการ  จังหวัดพิษณุโลก ๐๕๕ – ๓๘๑๓๔๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น