Translate

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เกร็ดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กบข. : บุญธรรม สุภารัตน์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ.พิษณุโลก



เกร็ดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กบข.
            เราในฐานะสมาชิก กบข. ผู้มีส่วนได้เสียกับกองทุนดังกล่าว  การศึกษาและเรียนรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  จึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง จะได้นำไปใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน สำหรับอนาคตทางเงินที่มากขึ้นในอนาคต
                       1.  วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 
                   -  เพื่อให้ความรู้  สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารเงินกองทุน  สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ
                   -  เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการตัดสินใจด้านต่าง ๆ
               2.  ข้อมูลที่สมาชิกควรรู้
                   2.1  GPF Web Service  คือ บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ กบข. เพื่อให้สมาชิก กบข. สามารถทำรายการต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล,การเลือกเปลี่ยนแผนการลงทุน, การตรวจสอบยอดเงิน ฯลฯ
                             ๑)  เข้าเว็บไซด์ www.gpt.or.th และเลือก GPF Web Service
                             ๒)  ใส่รหัสประจำตัว (รหัสประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรหัสผ่าน จาก กบข.)
                                  -  หากไม่ทราบ/ลืม คลิ้ก “ลืมรหัสผ่าน”  เพื่อขอรหัสใหม่ (เป็นตัวเลข 8  หลักเท่านั้น)
                             3)  เลือกรายการต้องการ
                   .  การออมเพิ่ม  คือ  การออมเงินกับ กบข.  ได้มากกว่าอัตราการออมปกติ  ตั้งแต่ 1-12% ของเงินเดือน  (เพิ่มจากการออมปกติ ๓% ของเงินเดือนที่ถูกหักเป็นรายเดือน)  และเมื่อรวมกับอัตราออมปกติแล้ว  ต้องไม่เกิน 15% ของเงินเดือน (รัฐสมทบ 3% และชดเชย ๒% ของเงินเดือนเช่นเดิม)  ประโยชน์จากการออมเพิ่ม คือ
                             1)  ผลประโยชน์จากการลงทุน  ตามผลตอบแทนในปีนั้นๆ  โดยคำนวณผลประโยชน์ตั้งแต่วันแรกที่หน่วยงานนำส่ง  เงินออมเพิ่มมายัง กบข.                                         
                             ๒)  สิทธิประโยชน์ทางภาษี   ได้รับยกเว้นในส่วนของเงินสะสมที่นำส่งยังกองทุน  ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐.-  เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ  (RMF)  ในปีภาษีนั้น
                             ๓)  สร้างวินัยในการออม  การหักผ่านบัญชี  ทำให้สมาชิกมีเงินเก็บออมแน่นอน
                                  -  แจ้งออมเพิ่มได้ปีละ  ๑ ครั้ง  ที่หน่วยทางต้นสังกัด หรือ GPF Web Service  หรือศึกษาเพิ่มเติมที่  www.gpt.or.th
                   2.3  การออมต่อ  คือ  บริการบริหารเงินออมสำหรับสมาชิกที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ  สิ้นสุดสมาชิกภาพจาก กบข. แต่ยังประสงค์จะให้  กบข.  บริหารเงินต่อให้เพื่อสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง  มี 4 รูปแบบ คือ
                             ๑)  ออมต่อเต็มจำนวน  สมาชิกให้ กบข.บริหารเงินออมทั้งหมดที่มีอยู่ในบัญชี
ต่อเนื่องไป   เหมาะกับสมาชิกยังไม่มีความประสงค์จะนำเงินออกไปใช้  โดยสามารถแจ้งขอรับเงินคืนจาก กบข.เมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ


-2-
                                      ๒)  ขอรับเงินบางส่วน  ที่เหลือออมต่อ  สมาชิกเลือกรับเงินก้อนออกไปก่อนส่วนหนึ่ง  ที่เหลือออมต่อ  เหมาะกับสมาชิกที่มีแผนการใช้เงินเพียงจำนวนเดียว  และต้องการให้
กบข.บริหารเงินส่วนที่เหลือให้
                                      ๓)  ขอทยอยรับเป็นงวดๆ  ส่วนเหลือออมต่อ  สมาชิกขอรับเงินเป็นงวดๆ  ได้แก่  รายเดือน,  ราย ๓ เดือน, ราย ๖ เดือน, หรือ  รายปี  ส่วนที่เหลือต้องการให้ กบข. บริหารเงินที่ยังไม่ได้นำออกไปใช้  เหมาะกับสมาชิกที่ต้องการมีเงินใช้ต่อเนื่อง  ขณะเดียวกันก็ยังได้ผลประโยชน์ที่งอกเงยจากเงินก้อนที่ยังออมต่อ
                                      ๔)  ขอรับเงินบางส่วน  ที่เหลือขอรับเป็นงวดๆ สมาชิกขอรับเงินก้อนออกไปก่อนส่วนหนึ่ง  ส่วนที่เหลือยังให้ กบข.   บริหารต่อให้เหมาะกับสมาชิกที่แผนการใช้เงินก้อนเพียงจำนวนเดียวก่อน  จากนั้นต้องการมีเงินใช้ต่อเนื่อง  ขณะเดียวกันก็ได้ผลประโยชน์ที่งอกเงยจากเงินที่ยังออมต่อ
                                       หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
                                           ๑)  ต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า ๓๕,๐๐๐.-    วันที่ยื่นคำขอโดยมีหลักฐานและเอกสารครบก่อน
                                           ๒)  การขอทยอยรับเงิน  ต้องรับเป็นรายงวดๆ ละเท่าๆกัน  ไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐.-  โดยอาจเลือกรับเป็นรายงวด ๑ เดือน  ๓ เดือน  ๖ เดือน  หรือ  ๑ ปี
                                           ๓)  กบข.  จะโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารเท่านั้น  ในวันทำการสุดท้ายของเดือนและจะหักค่าธรรมเนียมการโอนจากสมาชิก
                                           ๔)  แจ้งเปลี่ยนแปลงการขอรับเงินคืน  ได้ปีละ ๒ ครั้ง  ตามปีปฏิทิน
                                           ๕)  กรณีสมาชิกเสียชีวิต  กบข.จะจ่ายเงินคืนแก่ผู้จัดการมรดกเท่านั้น
                                           ๖)  เงินที่ให้กองทุนบริหารต่อจะนำไปลงทุนต่อเนื่องในแผนสุดท้ายก่อนพ้นสมาชิกภาพ
                                           ๗)  ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารต่อ  สามารถผันแปรไปตามผลการดำเนินงานของ กบข.  และสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
                                  .  แผนทางเลือกการลงทุน  คือ  แผนบริหารเงินออมของสมาชิก  โดยทุกคนสามารถแจ้งความประสงค์ให้ กบข.นำเงินสะสมเงินสะสมส่วนเพิ่ม  และเงินสมทบ  พร้อมผลประโยชน์
ของเงินดังกล่าว  ไปบริหารตามแผนการลงทุนที่สมาชิกเลือกไว้  ปัจจุบันมี ๕ แผน  ได้แก่
                                      ๑)  แผนหลัก  ดอกผลพอเพียง  บทความเสี่ยงพอเหมาะ  แผนนี้ลงทุนในสินทรัพย์มั่นคงสูงไม่ต่ำกว่า ๖๐% ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่พอเหมาะสำหรับสมาชิกที่รับความเสี่ยงระดับปานกลาง  คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
                                      ๒)  แผนผสมหุ้นทวี  เสี่ยงสูงขึ้น  เพื่อลุ้นผลตอบแทนด้วยตราสารทุน  แผนนี้ลงทุนในหุ้นมากกว่าแผนหลัก  มีโอกาสให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาว  แต่มีความผันผวนของราคาในระยะสั้น  สำหรับสมาชิก  อายุยังน้อย  เข้าใจการลงทุน  ยอมรับความเสี่ยงได้ดี
                                      ๓)  แผนตราสารหนี้  เสี่ยงน้อยๆ ค่อยๆ ออม แผนนี้ลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาว  และระยะสั้นเท่านั้น  ไม่ลงทุนในหุ้น  มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ  สำหรับสมาชิกรับความเสี่ยงได้น้อย  คาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก
                                      ๔)  แผนตลาดเงิน  ดอกผลเรื่องรอง  คุ้มครองเงินต้น แผนนี้ลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเท่านั้น  เน้นความปลอดภัยของเงินต้นเป็นสำคัญมีความเสี่ยงต่ำที่สุด  ผลตอบแทนก็น้อยกว่าทุกแผน  สำหรับสมาชิกที่ใกล้เกษียณอายุราชการ  ต้องการรักษาเงินออมที่มีอยู่ไม่ให้ลดต่ำลง
-3-
                                      ๕)  แผนสมดุลตามอายุ  อายุน้อยเสี่ยงมาก  อายุมากเสี่ยงน้อย แผนนี้สมาชิกเลือกครั้งเดียว  ระบบจะปรับความเสี่ยงของแผนให้สมาชิกอัตโนมัติตามอายุที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี  รองรับสมาชิกที่เกษียณอายุแตกต่างกันทั้ง ๖๐  ๖๕  และ ๗๐ ปี  สำหรับสมาชิกที่ไม่มีเวลาติดตามข้อมูลการลงทุน  หรือไม่แน่ใจว่าจะเปลี่ยนแผนการลงทุนได้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจ
                                       วิธีการ
                                       ๑)  แจ้งผ่านไปรษณีย์
                                           -  ดาวน์โหลด  แบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแผนการลงทุน  แนบสำเนาบัตรประชาชน/ข้าราชการ  พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
                                           -  แจ้งความประสงค์  ที่  www.gpt.or.th เมนู “GPF Web Service”
                             .๕  ข้อมูลน่าสนใจอื่นๆ
                                       ๑)  การลาออกของสมาชิก  ที่บรรจุก่อน ๒๗  มีนาคม ๒๕๔๐ (Undo) ยังไม่มีผลบังคับใช้
                                      ๒)  เหตุแห่งการพ้นสมาชิกภาพ  กบข/สิทธิประโยชน์ของสมาชิก

เหตุแห่งการพ้นสมาชิกภาพ
ความหมาย
.  เกษียณอายุราชการ
สมาชิกที่ออกจากราชการเมื่อมีอายุครบ ๖๐ ปีบริบูรณ์
.  เสียชีวิต
สมาชิกที่เสียชีวิตระหว่างรับราชการ
.  ทุพพลภาพ
สมาชิกที่ออกจากราชการ  เพราะเจ็บป่วยทุพพลภาพ  ซึ่งแพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไปได้
  .  ทดแทน
สมาชิกที่ออกจากราชการ  เพราะทางราชการเลิกหรือยุบตำแหน่ง  หรือมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิดหรือทหารซึ่งออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
.  สูงอายุ
สมาชิกที่ลาออกจากราชการเมื่อมีอายุครบ ๕๐ ปีบริบูรณ์
.  ลาออก
สมาชิกที่ประสงค์ลาออกจากราชการ  โดยส่วนราชการต้นสังกัดอนุมัติ
.  ให้ออก
สมาชิกที่ออกจากราชการโดยส่วนราชการต้นสังกัดให้ออก
.  ปลดออก
สมาชิกที่ออกจากราชการโดยส่วนราชการต้นสังกัดให้ออก  ซึ่งเป็นโทษทางวินัย
.  ไล่ออก
สมาชิกที่ออกจากราชการโดยส่วนราชการต้นสังกัดไล่ออก  เนื่องจากมีความผิดทางวินัยร้ายแรง
๑๐.  โอไปหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ 
       ประเภทข้าราชการตาม พ.ร.บ.    
       กบข.
สมาชิกที่โอนไปยังหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการตามมาตรา ๓ แห่ง พ.ร.บ. กบข.
๑๑.  ออกรับเบี้ยหวัด
สมาชิกที่เป็นข้าราชการทหาร (ชาย) ที่ยังไม่พ้นเกณฑ์กองหนุนเมื่อออกจากทหารกองประจำการภายใต้เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยเบี้ยหวัด พ.ศ.๒๔๙๕ กำหนดไว้


-4-
                   ทั้งนี้ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพในกรณีต่างๆ  จะได้รับสิทธิประโยชน์แตกต่างกันไป  ดังนี้
เหตุออกจากราชการ
เวลาราชการ (เวลารวมวันทวีคูณ)
สิทธิรับบำเหน็จบำนาญ
เงินที่จะได้รับจาก
กบข.
กระทรวง
การคลัง
   ลาออก
    ให้ออก
    ปลดออก
ไม่ถึง ๑๐ ปี
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
๑๐ ปีขึ้นไป
แต่ไม่ถึง ๒๕ ปี
บำเหน็จเท่านั้น
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำเหน็จ
๒๕ ปีขึ้นไป
กรณีเลือกบำนาญ
ประเดิม(ถ้ามี) + ชดเชย + สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำนาญ
กรณีเลือกบำเหน็จ
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำเหน็จ
  เกษียณ
   สูงอายุ
   ทุพพลภาพ
   ทดแทน
    
ไม่ถึง ๑ ปี
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
๑ ปีขึ้นไป
แต่ไม่ถึง ๑๐ ปี
บำเหน็จเท่านั้น
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำเหน็จ
๑๐ ปี  ขึ้นไป
กรณีเลือกบำนาญ
ประเดิม(ถ้ามี) + ชดเชย + สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำนาญ
กรณีเลือกบำเหน็จ
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำเหน็จ
    เสียชีวิต (ปกติ)
ไม่ถึง ๑ ปี
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
๑ ปี  ขึ้นไป
บำเหน็จตกทอดเท่านั้น
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
บำเหน็จ
ตกทอด(เงินเดือนเดือนสุด
ท้ายxเวลาราชการ)
   เสียชีวิตเพราะประพฤติชั่วอย่าง
     ร้ายแรง
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
    ไล่ออก
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
    ออกรับเบี้ยหวัด
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
เบี้ยหวัด
    ย้ายประเภทรับเบี้ยหวัดเป็นรับ
      บำเหน็จบำนาญ (ต่อเนื่องจากออก
      รับเบี้ยหวัด)
กรณีเลือกบำนาญ
ประเดิม(ถ้ามี) + ชดเชย + ผลประโยชน์
บำนาญ
กรณีเลือกบำเหน็จ
ไม่มี
บำเหน็จ
    โอนไปหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่
      ประเภทข้าราชการตาม พ.ร.บ. กบข.
ไม่มี
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
ไม่มี
เห็นไหมว่า  อย่างน้อยการศึกษาข้อมูลกบข. อย่างน้อย ก็ทำให้เราได้ความรู้มากขึ้น  สามารถนำไปตัดสินใจได้ว่า  จะเลือกลงทุนหรือจะได้ผลประโยชน์ใดบ้าง              นางบุญธรรม  สุภารัตน์ 
                                                     นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ  สพจ.พิษณุโลก
                                                                      พฤษภาคม 2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น