Translate

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การบริหารผลการปฏิบัติงาน : บุญธรรม สุภารัตน์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ. พิษณุโลก



การบริหารผลการปฏิบัติงาน   คือ อะไร       
              1.  การบริหารผลการปฏิบัติงาน  เป็นการบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  (Results based Management)  หรือ RBM  คือ   วิธีการบริหารจัดการที่เป็นระบบที่มุ่งเน้นที่เห็นผลสัมฤทธิ์  หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก  โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน  เพื่อให้บรรลุประสงค์ที่ตั้งไว้  ประกอบด้วย  ผลผลิต (Output) + ผลลัพธ์ (Outcome) โดยใช้ตัวชี้วัด 4 ตัว  ได้แก่  ประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  ความประหยัด  และความคุ้มค่า   อาศัยการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ 
                   ยุทธศาสตร์  ประกอบด้วย  5 P  คือ  Plan Ploy Pattern Position และPerspective  ซึ่งนำไปสู่เครื่องมือที่เปลี่ยนพันธกิจและกลยุทธ์  เป็นชุดการวัดผลการปฏิบัติงาน (Balanced  Scorecard=Strategy ยุทธศาสตร์ + Operations การดำเนินการ + Change จำเป็นต้องทำ โดยคำนึงถึง 4 มิติ  ได้แก่  ประสิทธิผลตามพันธกิจ คุณภาพการให้บริการ ประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ  และการพัฒนาองค์กร 
                   ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน  ควรคำนึ่งถึง  ความเจาะจง (S)   สามารถวัดได้ (M)  ได้รับความเห็นชอบซึ่งกันและกัน (A)  เป็นจริงได้ (R)  และระยะเวลาที่เหมาะสม (T)   ระดับเป้าหมาย  5  ระดับ             
                  ข้อพึงระวังในการกำหนดตัวชี้วัด
                  -ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล
                  -ปริมาณของตัวชี้วัดที่เหมาะสม
                  -ความท้าทาย และการนำไปสู่การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน
                  -ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
           2.  กรอบการพิจารณาตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายรายบุคคล
               1. งานคืออะไร
               2. ความเชื่อมโยง/เกี่ยวข้อง/ตอบโจทย์ เป้าหมายของหน่วยงาน
               3. งานต้องการความสำเร็จอย่างไร
               4. ความสำเร็จของงานที่ต้องการเป็นค่าเป้าหมายระดับที่ 3
               การกำหนดน้ำหนักสำหรับตัวชี้วัด (KPIs)   เป็นการกำหนดน้ำหนักโดยอิสระ หรือจัดเป็นระดับความสำคัญ  โดยองค์กร  หรือหน่วยงานสามารถกำหนดได้เอง
               การแจ้งผลการประเมิน  เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ถูกประเมิน เพื่อจะได้ทราบว่า ผลงานของตนเป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่  มีจุดอ่อน/จุดแข็งใดที่จะต้องนำไปปรับปรุงและพัฒนา  สร้างความร่วมมือและสนับสนุนบรรยากาศในการทำงาน  เพราะผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินได้มีโอกาสพูดจากัน  เป็นหนทางในการร่วมกันพัฒนาผลการปฏิบัติงาน  และวางแผนพัฒนาทางก้าวหน้าในอาชีพ
              ปัญหาในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้มีคุณภาพ
              1.  ผู้ปฏิบัติพยายามไม่กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้มีความชัดเจน และ/หรือมีความท้าทาย  เพื่อมุ่งหวังให้ได้ผลคะแนนการประเมินสูง ๆ
              2.  ผู้บังคับบัญชรไม่ได้ใส่ใจในรายละเอียด  ไม่ได้ให้ความสำคัญที่จะกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายให้เหมาะสม
              3.  ผู้ปฏิบัติไม่ทราบความชัดเจนหรือความคาดหวังถึงผลงานที่มุ่งหวัง
              4.  ผู้กำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายยังขาดความเชี่ยวชาญในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
-2-
               การกำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ  เพื่อกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคล
               1.  ไม่ว่าจะใช้วิธีกำหนดตัวชี้วัดวิธีใด  จะต้องคำนึงขอบเขตงานที่ผู้รับการประเมินรับผิดชอบหรือได้รับการมอบหมายเสมอ  เลือกใช้วิธีการถ่ายทอดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลงานจากบนลงล่างเป็นหลัก  แล้วเสริมด้วยวิธีอื่น
               2.  พิจารณาจำนวนตัวชี้วัดที่เหมาะสม  ครอบคลุมเนื้องาน/ความคาดหวังที่สำคัญ
               3.  ผู้ประเมิน (ผู้บังคับบัญชา)  จะต้องรู้ดีถึงเป้าหมาย/ความคาดหวังจากผู้ปฏิบัติ
               4.  การกำหนดตัวชี้วัด  จะต้องคำนึงถึงมิติที่ใช้ในการจำแนกผลการปฏิบัติงาน  เพื่อที่จะนำมิตินั้น ๆ  มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
               5.  คำนึงถึงความเป็นไปได้ในการเก็บข้อมูล  และภาระในการเก็บข้อมูล
          ดังนั้น  เพื่อให้การผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  และคุ้มค่าสูงสุด   เราจึงต้องศึกษา  ทำความเข้าใจถึงแนวทางการจัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานทั้งของหน่วยงาน  และยึดถือตามแนวทางที่ก.พ. กำหนด

                                                       นางบุญธรรม  สุภารัตน์
                                                     นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สพจ.พิษณุโลก
                                                                      มีนาคม  2557

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น