Translate

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แนวทางการเพิ่มจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการแม่บ้านสามห่วง : นิคม ทับทอง

วัตถุประสงค์เพื่อ  1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านอย่างมีคุณภาพ
                       2.เพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกโครงการให้มากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของครัวเรือนทั้งหมด


วิธีการทำ (ทำอย่างไร)
เทคนิค  กลเม็ด  เคล็ดลับ  ข้อพึงระวัง
 เกรินนำ   การนำรายละเอียดแนวทางการดำเนินงานของโครงการแม่บ้านสามห่วง ไปให้คนทุกคนในหมู่บ้านเข้าใจและเห็นพ้องต้องกัน มิได้ประชุมชี้แจง เพียง 2-3 ครั้งจะสำเร็จและมีคนมาสมัคร ต้องพูดคุย สังเกต ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของคนในหมู่บ้าน  สร้างปรับความเข้าใจ จนเขาเชื่อมั่นศรัทธา และสมัคร เข้ามาเป็นสมาชิกที่มีคุณภาพ
วิธีการทำ (ทำอย่างไร)
1) พบปะพูดคุยกับแกนนำผู้มีอิทธิพลทางการพัฒนาหมู่บ้านโดยเกริ่นนำรายละเอียดโครงการ ฯ อย่างไม่เป็นทางการก่อน
2) นัดประชุมสมาชิกทุกครัวเรือนโดยมีหนังสื่อเชิญประชุม
3) โดยพูดคุยโดยใช้สื่อ Power Point  เชิญชวน หลายครั้ง
    เข้าถึงสัมผัสได้ถึงประโยชน์ที่จะได้รับ 
4) ปรับทัศนะความคิดจนให้เชื่อและศรัทธา  ก่อนพัฒนา
     ให้ความรู้ ผู้นำต้องสมัครก่อน พบปะพูดคุยบ่อย ๆ
5) ตั้งคณะทำงานและทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง
     วางแผนแบ่งการทำงาน
6) แบ่งสายออกเดินทางไปตามบ้านทีมละ2-3 คน ไป
   “มุดรั้วเคาะประตูบ้าน”ทุกหลักคาเรือนยามเย็นที่อยู่พร้อม
    กันใช้คำพูด ชักจูงโน้มน้าว ให้ความสำคัญ ให้เกียรติ ให้
    โอกาส จนสมาชิกในครัวเรือนเข้าใจและรับสมัคร
7) ประชาสัมพันธ์สื่อต่างๆ เช่นทำป้ายคัทเอ้ท์ทางสามแยก
     แผ่นพับใบปลิว  หอกระจายข่าวตอนเข้า 
8) ลงคะแนนความดีที่ทำง่ายก่อนและทำตัวอย่างเบิกถอน
     ความดีมอบเป็นสิ่งของ ให้เห็นทั่วกัน
7) ประชาสัมพันธ์ก่อนทำ  ระหว่างทำ  หลังอย่างต่อเนื่อง
หลัก/แนวทาง/ทฤษฏี ที่ใช้
1.หลักการโดมิโน่ (กระทบชิ่ง)
2.ใช้วัฒนธรรมสังคมชนบทเชื่อผู้นำ/บาปบุญ/เล่าสืบต่อกัน
3.หลักการมีส่วนร่วม-ทำงานไม่หวานแห
4.แนวทางสร้างต้นแบบให้ดูตัวอย่าง/ยกย่อง ในชุมชน
5.หลักการรับผลประโยชน์-จับต้องได้และรู้สึกได้
6.หลักการพัฒนาชุมชน (4 ขั้นตอน)
7.หลักการดึงคนที่สังคมยอมรับมาทำเป็นต้นแบบ
1.ประชุมชี้แจงหลักการ-เหตุผลโดยใช้สื่อจนเข้าใจก่อน
2.เชิญผู้มีอิทธิพลในการพัฒนา สมัครเป็นต้นแบบ
3.ให้รับรู้สัมผัสได้ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ จนเต็มใจสมัคร
4. ประชาสัมพันธ์ ป้ายคัทเอ้าท์ ทางสามแยกเข้าใจง่าย และ
   ใช้สื่อต่าง ๆ ในและนอกหมู่บ้าน อย่างต่อเนื่อง
5.นำประธานกลุ่มองค์กรต่าง ๆในชุมชนมาเป็นคณะทำงาน 6.วางแผนปฏิบัติแบบมีส่วนร่วมอย่างละเอียด เปิดรับสมัคร
7.คณะทำงานแบ่งกลุ่ม 2-3 คนออก “มุดรั้วเคาะประตู
  บ้าน” ยามเช้า-เย็น สร้างความเข้าใจคนในครัวเรือน
  ให้เข้าใจเต็มใจสมัคร ออกซ้ำบ่อย ๆ จนครบทุกครัวเรือน
8.ส่งเสริมทดลองทำความดีอย่างง่าย ๆ ก่อน ทึกลงสมุด
   ความดี
9.ส่งเสริมให้คณะทำงานใช้ทรัพยากรทั้งภายใน-นอกชุมชน
10.ทดลองเบิก-ถอนความดีเปลี่ยนเป็นสิ่งของและมอบในที่
    ประชุมที่คนมากๆ
11.ประชาสัมพันธ์ทุกสื่ออย่างต่อเนื่อง
12.เจ้าหน้าที่เยี่ยมเยือนให้คำปรึกษาให้กำลังใจ
แก่นความรู้
1. ทำความเข้าใจทุกระดับให้เข้าใจ
2. แบ่งงาน “ออกมุดรั้วเคาะประตูจับเข่าคุยแบบพี่น้อง”
3. ชี้ให้เห็นและสัมผัสรับรู้ถึงประโยชน์ที่ได้รับ
4. ใช้สื่อต่างในการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
สรุปข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
1 ต้องให้การศึกษาจนเข้าใจถ่องแท้ก่อนไปขั้นต่อไป
2.กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกมิติ
3. ค้นหารับฟังและเข้าถึงปัญหาความต้องการให้ได้     
4. มีการติดตามสนับสนุนทุกส่วนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. ควรใช้จุดแข็ง ทรัพยากรในชุมชน สนับสนุน
6. ควรศึกษาและทดลองนำ กิจกรรมใหม่ ๆ มาเสริมเสมอ       7 ส่งเสริมและสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ๆ ในหมู่บ้าน ให้มากขึ้น
   ทดแทนกัน
เจ้าของเรื่อง   นายนิคม   ทับทอง  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ระดับชำนาญการ
ที่อยู่ สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองพิษณุโลก  (ที่ว่าการอำเภอเมือง) จังหวัดพิษณุโลก  65110  โทร. 055-282-040/081-973-5637

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น