Translate

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการค้นหาและการปรับเปลี่ยนทัศนคติครัวเรือนเป้าหมาย : นิคม ทับทอง

วัตถุประสงค์เพื่อ  1.ค้นหาครัวเรือนที่สนใจทำเป็นต้นแบบก่อนและขยายผลสู่ครัวเรือนอื่นต่อไป
                       2.เริ่มต้นพัฒนาตรงกลุ่มเป้าหมายเกิดความคุ้มค่าประหยัดทรัพยากร


วิธีการทำ (ทำอย่างไร)
เทคนิค  กลเม็ด  เคล็ดลับ  ข้อพึงระวัง
 เกรินนำ   พูดคุย สังเกต ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อของคนในหมู่บ้าน ซึ่งขึ้นจากประสบการณ์จริง การฟัง  การศึกษาเรียนรู้  การคาดการณ์  ฯลฯ  การจะปรับเปลี่ยนต้องอาศัยหลักการและสร้างศรัทธาจึงจะสำเร็จอย่างยั่งยืน  ต้องเชื่อมั่นว่าคนทุกคนพัฒนาได้
วิธีการทำ (ทำอย่างไร)
1) โดยพูดคุย สังเกต เชิญชวน หลายครั้ง คัดครัวเรือนหัวไวใจสู้ ทำให้ดูเป็นต้นแบบก่อน ให้เข้าถึงประโยชน์ที่จะได้รับ  พาดูตัวอย่าง ดูสื่อวีดีทัศน์  พูดให้เข้าใจ จนอยากทำก่อน
2) ปรับทัศนะความคิด  ก่อนพัฒนาทักษะ  ผู้นำต้องทำให้ดูก่อน  จึงจะไปพูดสอนคนอื่นได้ และเจ้าหน้าที่ให้กำลังใจ
การพูดถึงทุกข์ของเขา เรามาแก้ไขความทุกข์ใจของเขากัน
3) พบปะพูดคุยบ่อย ๆ ให้ความสำคัญ  ให้เกียรติ  ให้โอกาส
4) ใช้คำพูด ชักจูงโน้มน้าว ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
5) ฝึกทดลองทำในเรื่องง่าย ๆ ให้สำเร็จ ก่อน สิ่งยาก
6) เจ้าหน้าที่ต้องใจกว้าง ไม่เห็นแก่เล็กน้อย  เสียสละ อดทน  ยิ้มแย้ม  เรื่องเสื่อมเสีย  เช่น เหล้า  การพนัน  ผู้หญิง สิ่งเสพติด เงิน  วาจา ความจริงใจ  ภูมิรู้  ภูมิฐาน ภูมิธรรม ทุ่มเท
7) ประชาสัมพันธ์ก่อนทำ  ระหว่างทำ  หลังทำ ในชุมชน
หลัก/แนวทาง/ทฤษฏี ที่ใช้
1.หลักการโดมิโน่ (กระทบชิ่ง)
2.ใช้วัฒนธรรมสังคมชนบทเชื่อผู้นำ/บาปบุญ/เล่าสืบต่อกัน
3.หลักการทำงานไม่หวานแห
4.แนวทางยกย่องเชิดชู”รักษาหน้าตาเกียรติยศ”
5.แนวทางสร้างต้นแบบให้ดูตัวอย่าง/ยกย่อง ในชุมชน
6.หลักการรับผลประโยชน์-จับต้องได้และรู้สึกได้
7.หลักการมีส่วนร่วม
8.หลักการพัฒนาชุมชน ( 4 ขั้นตอน)
9.หลักการดึงคนมีเงิน/คนที่สังคมยอมรับมาทำเป็นต้นแบบ
10.แนวทางทดลองทำอย่างง่ายไปหายาก
11.แนวทางประชาสัมพันธ์ทางสื่อ/วีดีทัศน์
12.หลักการติดตามส่งเสริมสนับสนุนประสานงานต่อเนื่อง
1. ประชุมชี้แจงหลักการ-เหตุผลโดยใช้สื่อจนเข้าใจก่อน
2.ค้นหาจัดกลุ่มคนหัวไวใจสู้-คนรอดูทีท่า-คนเบิ่งตาลังเล-คนหันเหหัวดือ-คนงอมือจับเจ่า-คนไม่เอาไหนเลย
3. ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายชั้นนำ ก่อน 
4. ปรับทัศนะครัวเรือนตนแบบตัวต่อตัว กำหนดแผนปฏิบัติ
5.สร้างครัวเรือนต้นแบบ ยกย่องชื่นชมเกิดทำตามอย่างกัน
6.เจ้าหน้าที่ต้องมีบทบาทส่งเสริมประสานงานสนับสนุน
7. การเรียนรู้สร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้  ใช้ทรัพยากร  ทั้งในและนอกชุมชนสนับสนุนครัวเรือน 
8. สรุปผลการส่งเสริม ติดตามประเมินผล นำเสนอในที่ประชุมหมู่บ้านทุกเดือน
9. สอนให้รู้จักการปรับตัวรับผลกระทบในแต่ละกิจกรรม
แก่นความรู้
1.ศึกษา ใช้เทคนิค  จิตวิทยา  แรงจูงใจ เทคนิควิเคราะห์  จุดอ่อน  จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค
2. ทักษะความรู้ วิทยากรกระบวนการ การประสาน/ส่งเสริม
3. มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นใช้ห้วงเวลาอย่างเหมาะสม
4. มีความศรัทธามุ่งมั่น  ในงาน ใช้อุดมการณ์การพัฒนา
5. สร้างสัมพันธ์/ใช้คนที่สามารถทำแล้วเกิดผลดีมากกว่าเรา
6.ชัดเจนไม่คลุมเครือในงานที่ทำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7.ประชาสัมพันธ์ ยกย่องเกิดความภาคภูมิใจครัวเรือน      8. ติดตามประเมินผลร่วมกับผู้นำและประชาชนในพื้นที่
9. สร้างและให้กำลังให้กับตนเองและผู้อื่น ๆ เสมอเมื่อล้า
สรุปข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
1 ต้องให้การศึกษาจนเข้าใจถ่องแท้ก่อนไปขั้นต่อไป
2.กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกมิติ
3. ค้นหาและเข้าถึงปัญหาความต้องการให้ได้      
4.  มีการติดตามสนับสนุนทุกส่วนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. ควรใช้จุดแข็ง ทรัพยากรในชุมชน สนับสนุน
6. ควรศึกษาและทดลองนำ กิจกรรมใหม่ ๆ มาเสริมเสมอ       7 ส่งเสริมและสร้างผู้นำในหมู่บ้าน ให้มากขึ้น ทดแทนกัน
เจ้าของเรื่อง   นายนิคม   ทับทอง  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชน ระดับชำนาญการ
ที่อยู่ สำนักงานพัฒนาชุมชน อ.เมืองพิษณุโลก  (ที่ว่าการอำเภอเมือง) จังหวัดพิษณุโลก  65110  
        โทร. 055-282-040   โทรศัพท์มือถือ  081-973-5637

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรียน สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่าน ทางผู้เขียนบล็อกขอเรียนให้ทราบว่า เราได้เปิดให้ทุกท่านที่มีบัญชีของ Google เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ ด้วยถ้อยคำที่สุภาพเชิงสร้างสรรค์ เพียงเท่านั้น