Translate

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเพิ่มทักษะของผู้นำ : บุญชู ภักดิ์ประไพ

 1.         ด้านการสื่อสาร    การเพิ่มทักษะของผู้นำ      
2.       เจ้าของความรู้คือ   นางบุญชู  ภักดิ์ประไพ                                 
3.       ตำแหน่ง   นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
4.       สังกัด  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบางกระทุ่ม
โทร.  0-8644-6482-6
5.       วันที่บันทึกความรู้  10  มีนาคม  2557
6.       เหตุผลความจำเป็น / มูลเหตุ  
การทำงานของเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนเท่านั้น   เพราะฉะนั้นเราจะทำงานให้ประสบความสำเร็จได้  จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้นำ   เราจึงต้องพัฒนาผู้นำในองค์กรที่เราดูแลให้มีประสิทธิภาพ   
7.       ขั้นตอน / วิธีการทำงาน 
                  ๑) ทำให้เขาศรัทธาในตัวเรา เช่น เวลาเขาพบปัญหาต่าง ๆ  เราก็ใช้ ความรู้/ประสบการณ์/ข้อมูลที่รวบรวมมาได้   มาช่วยแนะนำแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ลุล่วงไปได้  ซึ่งเมื่อเขาเห็นความจริงใจความตั้งใจของเราแล้ว  เขาก็ยินดีที่จะทำงานร่วมกับเรา
                  2) ฝึกให้ ผู้นำ ได้มีโอกาสพูดในที่ชุมชนบ่อย ๆ  โดยเริ่มจากเรื่อง เล็ก ๆ ก่อน  เช่น การแนะนำตัวในที่ประชุม   แล้วคอยสังเกตการพัฒนาตนเองของเขาอยู่เสมอจนเขามีความพร้อม  ต่อจากนั้นก็ค่อย ๆ เพิ่มบทบาทของเขาให้มากขึ้น  เป็นการพูดคุยเรื่องภารกิจสำคัญ ตามลำดับ  เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของผู้นำ  
                การสังเกตพฤติกรรมว่าเขามีความพร้อมที่จะทำงานสำคัญหรือยังนั้น  อาจดูได้จากการพูดของเขาจะเริ่มมีการขยายความมากขึ้น  พูดชัดเจนมีคนสนใจฟังมากขึ้น  ได้สาระสำคัญครบถ้วน  ระยะเวลาการพูดนานขึ้น  และที่สำคัญเมื่อมีการประสานการทำงานกับผู้อื่นแล้วได้รับการสนองตอบเป็นที่น่าพอใจ
                  3) ติดตาม ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เขาได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้
                  4) ยกย่อง  พูดถึงความดีความสามารถของเขาทุกครั้งเมื่อมีโอกาส  เพื่อสร้างความมั่นใจและภาคภูมิใจ
                  5) สนับสนุนให้เขาได้ขยายผล ในการสร้างผู้นำเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างทีมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


8.       ปัจจัยที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ
           ๑) ผู้นำเปิดใจยอมรับในส่วนที่ตนเองบกพร่องอยู่ และต้องการที่จะพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง
           ๒) ชุมชนพร้อมที่จะพัฒนา  และให้ความร่วมมือ

กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายโครงการ “แม่บ้านสามห่วง” : โสภิต ภูริสวัสดิ์

ชื่อ – สกุล                 นางสาวโสภิต  ภูริสวัสดิ์
ตำแหน่ง                   พัฒนาการอำเภอพรหมพิราม
สังกัด                       สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
โทรศัพท์                   ๐-๕๕๓๖-๙๐๐๒
ชื่อเรื่อง                    กลยุทธ์ประชาสัมพันธ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายโครงการ “แม่บ้านสามห่วง”
เป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ       การรับรู้และมีผลการปฏิบัติงานจากการประชาสัมพันธ์
เนื้อเรื่อง
                        การประชาสัมพันธ์ มีความสำคัญต่อการชี้แจงบอกกล่าวเรื่องราวของหน่วยงาน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบ เกิดความเข้าใจ และเกิดความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งการทำงานพัฒนาชุมชนในปัจจุบันนี้ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างยิ่ง แต่การประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่มักจะแจ้งเรื่องราวที่ได้กระทำแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นผลของความร่วมมือในงานจึงไม่ได้เกิดจาก  การประชาสัมพันธ์โดยตรง จากปัญหาดังกล่าวข้าพเจ้าจึงคิดว่าเมื่อจะทำการประชาสัมพันธ์ทั้งทีให้เกิดผลต่อความร่วมมือของผู้นำชุมชน ไม่ว่าจะเป็นนายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ กลุ่ม องค์กรในพื้นที่ และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะให้รับรู้ เข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำแล้ว ต้องให้เกิดสัญญาใจร่วมกันด้วย จึงได้จัดทำรูปแบบการลงนามความร่วมมือ (MOU) ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์โดยมีเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์อยู่ที่การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแม่บ้านสามห่วงในระดับตำบล แต่หวังผลให้เกิดการผลักดันในระดับหมู่บ้าน ความสำเร็จเริ่มจากหมู่บ้านหนึ่งแต่อาจขยายผลไปอีกหลาย ๆหมู่บ้าน

เทคนิคการประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์
โดยใช้รูปแบบการลงนามความร่วมมือ (MOU) มีจุดที่แตกต่างจากการทำ MOU โดยทั่วไปคือ
1.      แบบลงนามความร่วมมือจัดทำขนาดใหญ่เท่ากับกระดานบอร์ด คือ กว้าง ๑๒๐ เซนติเมตร ยาว ๒๔๐ เซนติเมตร เพื่อให้ทุกคนที่ร่วมงานเห็นการลงนามได้ชัดเจน และร่วมเป็นสักขีพยานด้วยกัน
2.      ก่อนลงนามต้องชี้แจงให้ทุกคนที่
เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้นำชุมชน และหน่วยงานภาคี ได้ทราบถึงวัตถุประสงค์ ของการลงนาม ภายหลังจากที่ได้ชี้แจงแนวคิด กรอบแนวทางการดำเนินงานโครงการแม่บ้านสามห่วงเรียบร้อยแล้ว
3.      ผู้ร่วมลงนามไม่จำเป็นต้องลงนามครบทุกคนในครั้งแรก เพราะเป็นเรื่องของความสมัคร
ใจ แต่การประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์นี้ต้องทำต่อเนื่อง ทุกที่ที่มีการประชุมเป็นการตอกย้ำถึงการให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงาน และเชิญชวนให้ผู้ที่ยังไม่ได้ลงนามตัดสินใจ ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าด้วยอุปนิสัย และพฤติกรรมของคนไทย ท้ายที่สุดผู้นำชุมชน และภาคีการพัฒนาต้องลงนามความร่วมมือที่จะสนับสนุนการดำเนินงาน
4.      ใช้ MOU เป็นเครื่องมือให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ของโครงการ เช่น การขอรับการสนับสนุนป้ายไฟประชาสัมพันธ์จาก อบต. โดยพิมพ์สติ๊กเกอร์ “งานศพนี้ไม่มีเหล้าเลี้ยง”ปิดบนป้ายไฟที่มีอยู่แล้ว เป็นต้น
 ข้อพึงระวัง
เมื่อทำงานเชิงกลยุทธ์ความเข้าใจของทีมงาน หรือผู้ปฏิบัติงานต้องมีความเข้าใจวัตถุประสงค์

เป้าหมายผลงานที่ต้องการตรงกันก่อน และตกผลึกวิธีการ ขั้นตอน การขับเคลื่อนงานตามกลยุทธ์ที่วางไว้ มิฉะนั้นสิ่งที่ได้รับจะไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง และสูญเปล่าทั้งเวลา กำลังกาย กำลังใจ เรียกว่าได้ไม่คุ้มเสีย...  

ถอดบทเรียนกระบวนการทำงานโครงการแม่บ้านสามห่วง หมู่ที่ 4 บ้านคลองคู ตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ที่
รายการ
ผู้ดำเนินการ/ผู้ร่วม/กลุ่มเป้าหมาย
วิธีการ/หมายเหตุ

เตรียมคนทำ+,งาน+,เงิน,+วัสดุอุปกรณ์+,การจัดการ,+ผู้รับบริการ+,พื้นที่ทำเล,+วัสดุ,+เครื่องมือ,

 
1
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง
           (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)      ระดับอำเภอ
-พัฒนาการอำเภอ/กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน/หัวหน้าส่วนราชการ/คณะทำงาน ฯ
-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-ส่งข่าวเผยแพร่ทางวิทยุ
1
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง
           (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)      ระดับตำบล
-พัฒนากร/กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน/หัวหน้าส่วนราชการตำบล/คณะทำงาน ฯ
-พัฒนากร-กพสต.คกสต.
-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-วีดีทัศน์/บรรยาย/ยกตัวอย่าง
1
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง(ทำไมต้องมี ทำไมต้องทำทำให้สิ้นสงสัย)
           (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)      ระดับหมู่บ้าน
           ขั้นที่/ครั้งที่ 1 ชี้แจงที่ประชุมหมู่บ้านประชาชนทั่วไปให้เข้าหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายาก  เพื่อ ฉีดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจในระดับหนึ่ง
           ขั้นที่/ครั้งที่ 2 เชิญกพสม.แกนนำ รับฟังคำชี้แจงหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายากฉายภาพให้เห็น ให้เข้าใจ  และศรัทธาอยากทำ อย่าบังคับใช้ลักษณะชี้ชวน (หากยังไม่เกิดศรัทธาให้กลับไปทำเริ่มต้นใหม่) เพื่อ ให้ศรัทธาเข้าใจสร้างประบวนการทำงานร่วมกัน
           ขั้นที่/ครั้งที่ 3 แบ่งงาน กพสม.-ผู้นำชุมชน มองหากลุ่มองค์กรที่ได้รับประโยชน์ในหมู่บ้านเชิญผู้มีอำนาจอิทธิพลของกลุ่ม  รับฟังคำชี้แจงหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายากจนศรัทธาและยอมรับ  เพื่อ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ-สร้างตัวชี้วัดความดี

-พัฒนาการ/กพสม.กพสต./ผู้นำชุมชน/ผู้นำกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน/ประชาชน
(ผู้นำ/ประชาชนทั่วไปเข้าใจ)

-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (ผู้ทำเข้าใจ/ศรัทธา)


-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าใจ ศรัทธา)
-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-วีดีทัศน์/บรรยาย/ยกตัวอย่าง
-ประกาศทางหอกระจายข่าวฯ
-คุยกลุ่มเป้าหมายย่อย(นวดบ่อย)




-เวทีพูคปรึกษาหารือ
ที่
รายการ
ผู้ดำเนินการ/ผู้ร่วม/กลุ่มเป้าหมาย
วิธีการ/หมายเหตุ

           ขั้นที่/ครั้งที่ 4 เลือกคณะทำงานโครงการแม่บ้านสามห่วง เน้นการมีส่วนร่วมจากกลุ่มของต่าง ๆ   ร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับประโยชน์ สมาชิกจะดี ตอบสนองกลุ่มอย่าง ไร
                  -  ระดมทุน กองทุนต่าง ฯ (ทุนหมวดสาธารณะประโยชน์)
                  -  ทำเอกสาร ฯ ใบสมัคร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ ทะเบียนต่าง ๆ
                  -  ออกเดินเท้า เข้าไต้ถุน (ขายตรง-ไดเร็ทเซล)ชี้แจงทำความเข้าใจ/รับสมัคร
                     1) ธนาคารความดี
                     2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
                     ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)
(ทดลองดำเนินการตามกิจกรรมข้างต้น 3 กิจกรรมประมาณ   1 เดือน)

-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าใจ ศรัทธา)
-จับเข้าพูดคุยตามบ้านเรือนพูคปรึกษาหารือ สร้างความเข้าใจและสร้างศรัทธา เน้นประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ชักชวนเชิญชวน

-รับสมัครครัวเรือนเป็นสมาชิก
-สำรวจความประหยัด ฯ แต่ละงาน
- ป้ายรณรงค์ /เก็บรายงานเมาไม่ขับ

           ขั้นที่ 5  การเปิดโครงการ “แม่บ้านสามห่วง” (เปิดเมื่อพร้อมประชาชนเข้าใจ)
              กิจกรรม   1) ธนาคารความดี

              กิจกรรม   2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
              กิจกรรม   ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)

           ขั้นที่ 6  คณะทำงาน ฯ ติดตามส่งเสริมการขับเคลื่อนกระบวนการ
                       โครงการ “แม่บ้านสามห่วง”  อยู่เสมอ ออกเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ
              กิจกรรม   1) ธนาคารความดี = ให้กิจกรรมความดีส่งผลตอบแทนสมาชิก
                        โดยเร็วโดยมอบ “สิ่งที่เป็นมูลค่าแทนคุณค่าความดี” ให้เห็นเป็นที่
                         ประจักษ์ต่อสาธารณาประชาชน  จะทำให้เกิดเป็นตัวเร่ง คนทำความดี             


-กพสม.+ผู้นำสำรวจบันทึกข้อมูล
ความดีตามแบบฯ
-กพสม.+ผู้นำสำรวจข้อมูลตามแบบฯ
-กพสม.+ผู้นำสำรวจข้อมูลตามแบบฯ

-กพสม.+ผู้นำ

-รับสมัครครัวเรือนเป็นสมาชิก

-สำรวจความประหยัด ฯ แต่ละงาน
- ป้ายรณรงค์ /เก็บรายงานเมาไม่ขับ

-ออกเยี่ยมเยื่อน
-ส่งเสริมให้กำลังใจ
-มอบสิ่งของตอบแทนความดีในที่สาธารณะ
ที่
รายการ
ผู้ดำเนินการ/ผู้ร่วม/กลุ่มเป้าหมาย
วิธีการ/หมายเหตุ

             กิจกรรม   2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
                    -ประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ ต่อเจ้าภาพที่ประหยัด
                    -มีใบประกาศยกย่องเชิดชูความดีใส่กรอบมอบไว้ ให้ภาคภูมิใจทั้งครอบครัว
                      ช่วงอ่านประวัติผู้ตาย
              กิจกรรม   ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)
                    -ทำสัญญาลักษณ์มอบให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมกินกรรม ที่ 2-3



           ขั้นที่ 7  ร่วมกันสรุปและถอดขั้นตอนวิธีการทำงาน และ จัดการความรู้ (KM)
                      ในเวทีคณะทำงาน +ผู้นำ ฯ  โครงการ “แม่บ้านสามห่วง” 
                       - จัดทำเป็นรูปเล่มรายงานจังหวัด









-กพสม.+ผู้นำ/เจ้าภาพงานศพ



-กพสม.+ผู้นำ/บิดา-มารดา-สามี-ภรรยา-บุตร


-ออกไปเป็นทีมคณะ ฯ อย่างสร้างความภาคภูมิใจ ปราศยกย่องในหอกระจายข่าว

-แจ้งต่อคณะกรรมการว่าทำกี่ครั้ง
 มีภาพถ่ายและพยาน เพื่อเสนอบันทึกความดีเป็นคุณค่าเปลี่ยนเป็นมูลค่า







การจัดการความรู้รูปแบบ After Action Review (AAR) ในการดำเนินงานโครงการแม่บ้านสามห่วง หมู่ที่ 4 บ้านคลองคู ตำบลท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ที่
กิจกรรม/งาน/กระบวนงาน
1.สิ่งที่คาดหวัง
2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ
3.เหตุผลทำไมจึงแตกต่างกัน
4.วิธีการปรับแก้ไขข้อบกพร่องครั้งต่อไป
1.
เตรียมคนทำ+,งาน+,เงิน,+วัสดุอุปกรณ์+,การจัดการ,+ผู้รับบริการ+,พื้นที่ทำเล,+วัสดุ,+เครื่องมือ,
-ได้ความร่วมมือคนร่วมทำ+,งาน+,เงิน,+วัสดุอุปกรณ์+,การจัดการ,+ผู้รับบริการ+,พื้นที่ทำเล,+วัสดุ,+เครื่องมือ, ฯลฯ
-ได้รับการสนับสนุน/มีความพร้อม
1.พัฒนากรกำหนดกระบวนการขึ้นตอน สิ่งที่จะต้องเตรียม
2.ค้นหาจัดหา จัดเตรียมปัจจัยสนับสนุนภานในสำนักงานก่อน
3.ประสานขอรับการสนับสนุนจากภายนอกสำนักงานและหน่วยงานภาคี โดยต้องเดินทางไปพร้อมรายละเอียดโครงการ ฯ เพื่อชี้แจงให้เขาเกิด ศรัทธาและยอมรับ ผลที่ได้  70 %
1.เวลาในการประสานกระชั้นชิด(น้อย)
2.ได้ปัจจัยสนับสนุนมาน้อย(จำกัด)
1.เผื่อเวลาการทำงานให้มากขึ้นและโทร.นัดหมายล่วงหน้า
2.ไปพบและชี้แจงทำความเข้าใจด้วยตนเอง
3.โน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับให้ได้
2
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)      ระดับอำเภอ
-พัฒนาการอำเภอ/กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน/หัวหน้าส่วนราชการ/คณะทำงาน ฯ
-มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธราเห็นด้วยอยากทำ อย่ากสนับสนุน
-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-ส่งข่าวเผยแพร่ทางวิทยุ
-ประชุมชี้แจงในที่ประชุมโดยเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับนายอำเภอและให้นายอำเภอเป็นผู้ชี้แจงในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ เข้าใจและสนใจ
1.ส่วนราชการเข้าร่วมกิจกรรมยังไม่ครบทุกส่วนราชการ
ประมาณ  65 %
1.ไปพบและชี้แจงทำความเข้าใจด้วยตนเอง
2.โน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับให้ได้
3.มีเอกสารให้ความรู้แจก
3
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง   (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)      ระดับตำบล
-พัฒนากร/กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน/หัวหน้าส่วนราชการตำบล/คณะทำงาน ฯ
-พัฒนากร-กพสต.คกสต.
-มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธราเห็นด้วยอยากทำ อย่ากสนับสนุน

-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-วีดีทัศน์/บรรยาย/ยกตัวอย่าง
-ประชุมชี้แจงในที่ประชุมโดยเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจกับส่วนราชการในตำบล
1.ส่วนราชการเข้าร่วมกิจกรรมยังไม่ครบทุกส่วนราชการ
2.เวลากระชั้น(น้อย)
1.ไปพบและชี้แจงทำความเข้าใจด้วยตนเอง
2.โน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับให้ได้
3.มีเอกสารให้ความรู้แจก
4.ให้เวลาได้ขบคิด
ที่
กิจกรรม/งาน/กระบวนงาน
1.สิ่งที่คาดหวัง
2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ
3.เหตุผลทำไมจึงแตกต่างกัน
4.วิธีการปรับแก้ไขข้อบกพร่องครั้งต่อไป
4
ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการแม่บ้านสามห่วง (งานศพปลอดเหล้า –เมาไม่ขับ -ธนาคารความดี)  ระดับหมู่บ้าน
           ขั้นที่/ครั้งที่ 1 ชี้แจงที่ประชุมหมู่บ้านประชาชนทั่วไปให้เข้าหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายาก  เพื่อ ฉีดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับทราบและเข้าใจในระดับหนึ่ง

           ขั้นที่/ครั้งที่ 2 เชิญกพสม.แกนนำ รับฟังคำชี้แจงหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายากฉายภาพให้เห็น ให้เข้าใจ  และศรัทธาอยากทำ อย่าบังคับใช้ลักษณะชี้ชวน (หากยังไม่เกิดศรัทธาให้กลับไปทำเริ่มต้นใหม่) เพื่อ ให้ศรัทธาเข้าใจสร้างประบวนการทำงานร่วมกัน
           ขั้นที่/ครั้งที่ 3 แบ่งงาน กพสม.-ผู้นำชุมชน มองหากลุ่มองค์กรที่ได้รับประโยชน์ในหมู่บ้านเชิญผู้มีอำนาจอิทธิพลของกลุ่ม  รับฟังคำชี้แจงหลักการ-เหตุผลเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการเน้นการว่าได้รับประโยชน์อย่างไร ดีอย่างไร –ขั้นตอนการทำจากง่ายไปหายากจนศรัทธาและยอมรับ  เพื่อ ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ-สร้างตัวชี้วัดความดี




(ทำไมต้องมี ทำไมต้องทำทำให้สิ้นสงสัย)
-มีความรู้ความเข้าใจและศรัทธราเห็นด้วยอยากทำ อย่ากสนับสนุน
-พัฒนาการ/กพสม.กพสต./ผู้นำชุมชน/ผู้นำกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน/ประชาชน
(ผู้นำ/ประชาชนทั่วไปเข้าใจ)


-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (ผู้ทำเข้าใจ/ศรัทธา)





-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าใจ ศรัทธา) /แบ่งงานกันทำ
-เชิญผู้นำกลุ่มมาประชุม ฯ
-เวทีพูคปรึกษาหารือ
-เมื่อเข้าใจและศรัทธรา ก็วางแผนการดำเนินงานร่วมกันแบ่งงานมอบหมายหน้าที่
-ได้ตัวชี้วัดความดีและค่าคะแนน




-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-วีดีทัศน์/บรรยาย/ยกตัวอย่าง
-ประกาศทางหอกระจายข่าวฯ
-คุยกลุ่มเป้าหมายย่อยบ่อย ๆ ทุกโอกาสที่มี ที่สามารถพูดได้(นวดบ่อย)


-เวทีพูคปรึกษาหารือ
-พูดคุยเอกสารแผ่นพับแจก
-วีดีทัศน์/บรรยาย/ยกตัวอย่าง
-ประกาศทางหอกระจายข่าวฯ
-คุยกลุ่มเป้าหมายย่อยบ่อย ๆ ทุกโอกาสที่มี ที่สามารถพูดได้(นวดบ่อย)
-เวทีพูคปรึกษาหารือ
-เมื่อเข้าใจและศรัทธรา ก็วางแผนการดำเนินงานร่วมกันแบ่งงานมอบหมายหน้าที่
-ประชาคมผู้นำและสตรี*/กลุ่มกำหนดตัวชี้วัดความดี



-ทำครบได้ผลมากกว่า 70 %
- ประชากรในหมู่บ้านเข้าร่วมฟังไม่ครบทุกครัวเรือน (118 คร.)


-ทำไม่ครบได้ผลมากกว่า 80 %
- คณะกรรมการมาไม่ครบ



-คณะกรรมการยังขับเคลื่อนงานที่มอบไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา
-ได้ผลเกิดคาด มีตัวชี้วัดกว่า 51  ความดีที่อยากให้ประชาชนทำ



1.เผื่อเวลาการทำงานให้มากขึ้นและนัดหมายล่วงหน้า
2.ไปพบและชี้แจงทำความเข้าใจใช้สื่อ วีดีทัศน์
3.โน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับให้ได้

1.เผื่อเวลาการทำงานให้มากขึ้นและนัดหมายล่วงหน้า
2.ไปพบและชี้แจงทำความเข้าใจใช้สื่อ วีดีทัศน์
3.โน้มน้าวให้เห็นประโยชน์ที่เขาจะได้รับให้ได้
-กำกับ  กระตุ้น ให้กำลังใจ  สนับสนุนให้สตรีได้แบ่งเวลา  แบ่งงานกันทำ
-กระตุ้นให้ขับเคลื่อนกิจกรรม
-เฉลี่ยหน้าที่
-ชี้แจงผลประโยชน์ที่กลุ่มจะได้รับ

ที่
กิจกรรม/งาน/กระบวนงาน
1.สิ่งที่คาดหวัง
2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ
3.เหตุผลทำไมจึงแตกต่างกัน
4.วิธีการปรับแก้ไขข้อบกพร่องครั้งต่อไป

           ขั้นที่/ครั้งที่ 4 เลือกคณะทำงานโครงการแม่บ้านสามห่วง เน้นการมีส่วนร่วมจากกลุ่มของต่าง ๆ   ร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมตัดสินใจ ร่วมรับประโยชน์ สมาชิกจะดี ตอบสนองกลุ่มอย่าง ไร
                  -  ระดมทุน กองทุนต่าง ฯ
 (ทุนหมวดสาธารณะประโยชน์)
                  -  ทำเอกสาร ฯ ใบสมัคร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ ทะเบียนต่าง ๆ
                  -  ออกเดินเท้า เข้าไต้ถุน (ขายตรง-ไดเร็ทเซล)ชี้แจงทำความเข้าใจ/รับสมัคร
                     1) ธนาคารความดี
                     2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
                     ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)
(ทดลองดำเนินการตามกิจกรรมข้างต้น 3 กิจกรรมประมาณ   1 เดือน)






-พัฒนากร/กพสม/ผู้นำ (กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าใจ ศรัทธา)
- ได้รับการสนับสนุนทุนจากกลุ่ม ฯ
- มีคนเข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมงาน เมาไม่ขับ ,งานศพปลอดเหล้า, ธนาคารความดี






-ขอรับการสนับสนุนทุนจากกลุ่ม ฯ
-จับเข้าพูดคุยตามบ้านเรือนพูคปรึกษาหารือ สร้างความเข้าใจและสร้างศรัทธา เน้นประโยชน์ที่เขาจะได้รับ ชักชวนเชิญชวน

-รับสมัครครัวเรือนเป็นสมาชิก
-สำรวจความประหยัด ฯ แต่ละงาน
- ป้ายรณรงค์ /เก็บรายงานเมาไม่ขับ





-ยังสนับสนุนทุนมาไม่ได้ตามเป้าทุกกลุ่ม

-คณะกรรมการยังขับเคลื่อนงานที่มอบไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา เช่นการรับสมัคร และการร่วมกิจกรรม





-ชี้แจงผลประโยชน์ที่กลุ่มและสมาชิกในครัวเรือนจะได้รับโดย กพสม.+และผู้นำแบ่งสายหน้าที่กัน ออกรับสมัครและให้ความรู้ โดย  “รอดรั่วมุดไต้ถุน   เคาะประตู สร้างความเข้าในและรับสมัคร



           ขั้นที่ 5  การเปิดโครงการ “แม่บ้านสามห่วง” (เปิดเมื่อพร้อมประชาชนเข้าใจ)
      กิจกรรม   ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)
     กิจกรรม   2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
      กิจกรรม  1) ธนาคารความดี
-เข้าร่วมกิจกรรม
-ประชาชนเข้าใจและสมัครเข้ามาเป็นสมาชิกธนาคารความดี จำนวนไม่น้อยกว่า 70 % ของจำนวน 118  ครัวเรือนทั้งหมด ตั้งเป้าจำนวน  82  ครัวเรือน 
-กพสม.+ผู้นำสำรวจข้อมูลกรอกตามแบบฯ

-รับสมัครครัวเรือนเป็นสมาชิก
ได้  105  ครัวเรือนคิดเป็น 88.98  %
-สำรวจความประหยัด ฯ แต่ละงาน
- ป้ายรณรงค์ /เก็บรายงานเมาไม่ขับ

-มาสมัครเกินคาดหมาย  23  ครัวเรือน
-ยังไม่มีงานศพ แต่มีสมาชิกพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรม

“ทำได้เกินเป้าหมาย”





ที่
กิจกรรม/งาน/กระบวนงาน
1.สิ่งที่คาดหวัง
2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ
3.เหตุผลทำไมจึงแตกต่างกัน
4.วิธีการปรับแก้ไขข้อบกพร่องครั้งต่อไป


           ขั้นที่ 6  คณะทำงาน ฯ ติดตามส่งเสริมการขับเคลื่อนกระบวนการ
                       โครงการ “แม่บ้านสามห่วง”  อยู่เสมอ ออกเยี่ยมเยือนให้กำลังใจ
              กิจกรรม   1) ธนาคารความดี = ให้กิจกรรมความดีส่งผลตอบแทนสมาชิก
                        โดยเร็วโดยมอบ “สิ่งที่เป็นมูลค่าแทนคุณค่าความดี” ให้เห็นเป็นที่
                         ประจักษ์ต่อสาธารณาประชาชน  จะทำให้เกิดเป็นตัวเร่ง คนทำความดี             

            กิจกรรม   2) รณรงค์ร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้า
                    -ประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ ต่อเจ้าภาพที่ประหยัด
                    -มีใบประกาศยกย่องเชิดชูความดีใส่กรอบมอบไว้ ให้ภาคภูมิใจทั้งครอบครัว
                      ช่วงอ่านประวัติผู้ตาย
              กิจกรรม   ๓) รณรงค์ร่วมกิจกรรมเมาไม่ขับ(เก็บยึดกุญแจ)
                    -ทำสัญญาลักษณ์มอบให้ครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมกินกรรม ที่ 2-3









-ออกเยี่ยมเยื่อน
-ส่งเสริมให้กำลังใจ
-มอบสิ่งของตอบแทนความดีในที่สาธารณะ
-นำเงินไปจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคมาสำรองเตรียมมอบสำหรับผู้เบิกความดี

-หากมีงานศพเจ้าภาพงานศพเข้าร่วมกิจกรรมงานศพปลอดเหล้าอย่างเต็มใจ



-กพสม.+ผู้นำ/บิดา-มารดา-สามี-ภรรยา-บุตร มีความเข้าใจ มั่นใจและกล้าที่จะทำกิจกรรมริบ-ซ่อน กุญแจ
-แจ้งต่อคณะกรรมการว่าทำกี่ครั้ง
 มีภาพถ่ายและพยาน เพื่อเสนอบันทึกความดีเป็นคุณค่าเปลี่ยนเป็นมูลค่า






-ออกเยี่ยมเยื่อน
-ส่งเสริมให้กำลังใจ
-มอบสิ่งของตอบแทนความดีในที่สาธารณะ
-ยังไม่ได้มีการขอเบิกแลกความดีมาเป็นสิ่งของ

-ยังไม่มีคนตาย  แต่สมาชิกทุกคนพร้อมที่ร่วมกิจกรรม



-ยังไม่มีการดื่มเมาแล้วขับ











-อยู่ระหว่างการทำความดีสะสม สมาชิกรอให้ความดีเพิ่มขึ้นก่อน



-ยังไม่เกิดกิจกรรม




-ยังไม่เกิดกิจกรรม






-คณะกรรมการกระตุ้นเร่งการทำกิจกรรมตามเมนูความดี
-จัดทำพิธีมอบหรือให้ถอนความดีไปใช้โดยเน้นให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้เพื่อเป็นการกระตุ้นการรับประโยชน์จากกิจกรรม

-ออกไปเป็นทีมคณะ ฯ อย่างสร้างความภาคภูมิใจ ปราศยกย่องในหอกระจายข่าว







ที่
กิจกรรม/งาน/กระบวนงาน
1.สิ่งที่คาดหวัง
2.สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในการปฏิบัติ
3.เหตุผลทำไมจึงแตกต่างกัน
4.วิธีการปรับแก้ไขข้อบกพร่องครั้งต่อไป

           ขั้นที่ 7  ร่วมกันสรุปและถอดขั้นตอนวิธีการทำงาน และ จัดการความรู้ (KM)
                      ในเวทีคณะทำงาน +ผู้นำ ฯ  โครงการ “แม่บ้านสามห่วง” 
                       - จัดทำเป็นรูปเล่มรายงานจังหวัด







-ดำเนินงานตามกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน
-จัดการความรู้ตามขั้นตอนตามรูปแบบ After  Action  Review (AAR)
ทุกขั้นตอน
-ดำเนินการได้จริงและจัดการความรู้ตามรูปแบบ After  Action  Review (AAR)  ทุกขั้นตอน
-ทำได้ตามแนวทางตามขั้นตอนที่กำหนด
-พูดคุยกับ กพสม.,และผู้นำและจดจำและจดบันทึกองค์ความรู้ มาเขียนเป็นกระบวนงาน    After  Action  Review (AAR)
ที่สมบูรณ์