Translate

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557

วิธีแปลงไฟล์ wordเป็นpdf ด้วยโปรแกรม doPDF


วิธีทำ(วิธีปฏิบัติ) เรื่อง
วิธีแปลงไฟล์ wordเป็นpdf ด้วยโปรแกรม doPDF
วิธีทำ
ข้อแนะนำ/ข้อพึงระวัง
เนื่องจากปัจจุบันเราทำงานส่วนใหญ่จะพิมพ์งานเป็นไฟล์ word แต่กรมฯ
กำหนดให้ส่งงานเป็นไฟล์ PDF ทำให้เป็นอุปสรรคกับผู้ที่ไม่สามารถที่จะ
แปลงไฟล์ word ดังกล่าวได้ จึงได้แนะนำโปรแกรมแปลงไฟล์ doPDF
ซึ่งเป็นโปรแกรมแปลงไฟล์ง่าย ๆ และสมบูรณ์ รองรับฟ้อนภาษาไทย
1. ดาวน์โหลดโปรแกรม doPDF มาติดตั้งก่อน
2. เป็นเอกสาร word ที่เราต้องการแปลงเป็น pdf ขึ้นมา
3. ไปที่ file และ ไปที่ print
4. จากนั้นเลือกเครื่องปริ้นเป็น doPDF และกดปริ้น
5. โปรแกรม doPDF จะเด้งขึ้นมาให้เราเลือกที่บันทึกจากนั้นกด ตกลง ก็จะ
   ได้ไฟล์ pdf ออกมา
เครื่องมือที่ใช้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือ
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์
2. โปรแกรม doPDF สามารถดาวน์
โหลดได้ที่ http://www.dopdf.
com/th/
เจ้าของความรู้   นางสาวยุพา   โสรถาวร
ที่ติดต่อ กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดพิษณุโลก

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557

การพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง

สรุปบทเรียนการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง


ตามโครงการฝึกอบรมแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ซึ่งได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมจำนวน ๔ วัน
ในระว่างวันที่ ๒๑-๒๔ ธันวาคม  ๒๕๕๗  ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง
อำเภอบ้านบึง  จังหวัดชลบุรี
…………………………………………………………………………..
ลงทะเบียน
ได้รับการต้อนรับจากคณะวิทยากร จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เข้าที่พัก,ลงทะเบียน,เขียนประวัติส่วนตัว
ปฐมนิเทศ
ทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ,แนะนำสถานที่ต่าง ๆ งานของมูลนิธิ ประวัติ  หลักสูตรการฝึกอบรมและให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เขียนความคาดหวังของการอบรม  /กระบวนการกลุ่ม การละลายพฤติกรรม,เกมส์ต่าง ๆ การแบ่งกลุ่มสี,ตั้งชื่อบ้าน  การรับประทานอาหาร (อิ่มท้องอย่างเป็นระเบียบ) ทุกคนจะต้องเข้าแถวเพื่อตักอาหารหลังจากรับประทานอาหารเสร็จต้องล้างจาน,แก้วน้ำด้วยตนเอง เข้าแถวเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติ  ท่องคำปฏิญาณ , สวดมนต์เข้านอน   มอบหมายภารกิจ(เวรประจำวันของแต่ละกลุ่มสี) ซึ่งเป็นการฝึกให้ช่วยเหลือตนเองสร้างระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกัน
การให้ความรู้ตามหลักสูตร
๑. เกษตรอินทรีย์
ทำให้ทราบถึงข้อดีของการทำเกษตรอินทรีย์ ไม่ต้องใช้ปุ๋ย ใช้สารเคมี ทำให้น้ำ ดินอุดมสมบูรณ์  และได้เชื่อมโยงถึงการทำเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างการทำนา เป็นการทำนาในเชิงธุรกิจมากขึ้น เร่งการผลิต โดยการใส่ปุ๋ยเคมี  เมื่อเกิดโรคระบาดก็ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ส่งผลกระทบต่อตัวเอง เรื่องสุขภาพ ดิน น้ำ อากาศ เพิ่มค่าใช้จ่าย สิ่งที่ตามมาคือหนี้สิน
๒. หลักการทำกสิกรรมธรรมชาติ
-          การห่มดิน,ปรุงอาหารเลี้ยงดินเอาฟางห่มดินให้หนาเพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน  จุลินทรีย์ในดิน
จะขยายตัว  รากของต้นไม้จะชอนไชไปในดินได้ง่าย  ตามด้วยปุ๋ยแห้งจำพวกมูลสัตว์โรยทับ  แม้จะไม่ถึงดินโดยตรง  แต่ความชื้นจะค่อยๆ ดึงปุ๋ยลงสู่ดิน ดินก็จะย่อยสลาย
-          การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ภายใต้หลักกสิกรรมธรรมชาติที่ว่า “เลี้ยงดิน  เพื่อให้ดินเลี้ยงพืช”   ปุ๋ย
อินทรีย์ชีวภาพให้คุณค่าทางธาตุอาหารโดยตรงแก่พืช และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างอาหาร ซึ่งได้สอนวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
-          สมุนไพรในการเกษตรการนำสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรู โดยสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรที่ใช้ใน
การเกษตรแบ่งออกตามรส ๕ รส คือ
1.       สมุนไพรรสขม  ฆ่าเชื้อแบคทีเรียป้องกันแมลง เช่นฟ้าทะลายโจร สะเดา บอระเพ็ด
2.       สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย เช่น ใบน้อยหน่า หนอนตายอยาก หางไหล สลัดได พญาไร้ใบ
3.       สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช เช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง ใบทับทิม
4.       สมุนไพหอมระเหย ไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ โหระพา กระเพรา กระทกรก
5.       สมุนไพรรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน เช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว มะขาม

๓. กิจกรรมป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง
๑. ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านพออยู่ เช่น การปลูกต้นไม้สำหรับใช้เนื้อไม้มาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เช่น ไม้ตะเคียนทอง สัก ยางนา มะฮอกกานี กระถินเทพา จำปาทอง ฯลฯ
           ๒. ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอกิน เช่น การปลูกต้นไม้สำหรับใช้กิน เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพรเป็นเครื่องดื่ม ตลอดจนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าขายผลผลิตเพื่อดำรงชีพ เช่น ไม้ผลต่างๆ ได้แก่ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะม่วง ฯลฯ ไม้ที่ให้ผลผลิตเพื่อขาย เช่น ปาล์ม มะพร้าว ยางพารา ฯลฯ
          ๓. ปลูกเพื่อให้เกิดความเพียงพอในด้านการพอใช้ เช่น ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอยในครัวเรือน ใช้พลังงาน ใช้เป็นเครื่องมือต่างๆ ในการประกอบอาชีพ ได้แก่ ไม้ไผ่ หวาย สำหรับจักสานเป็นเครื่องเรือน ของใช้ ฯลฯ ไม้โตเร็วบางชนิดที่ใช้เป็นไม้ฟืน ถ่าน ไม้พลังงาน เช่น สบู่ดำ ปาล์ม ฯลฯ ไม้ทำเครื่องมือการเกษตร ได้แก่ การทำด้ามจอบ มีดขวาน รถเข็น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ ฯลฯ
ประโยชน์ ต่อระบบนิเวศ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

๔. เรียนรู้เรื่องการพึ่งตนเองและลงมือปฏิบัติจริง
1.       ฐานรักษ์แม่ธรณี
ให้ความรู้การนำสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืชและแมลงศัตรู โดยให้รู้สรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรแบ่งออกตามรส ๕ รส วิทยากรจะให้แต่ละกลุ่ม ๕ กลุ่ม ๕ รสตามสมุนไพร  ไปหาพืชในป่าที่ตรงกับที่ได้รับมอบหมายแล้วนำมาหมักตามสูตร
2.       ฐานคนเอาถ่าน
          จาก ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง เราจะต้องปลูกต้นไม้ให้เป็นทุนก่อน เมื่อต้นไม้โตมีแขนงงอก
ออกมาก็ตัดมาเผาถ่าน  การเผาถ่านนอกจากได้ถ่านแล้ว ยังได้น้ำส้มควันไม้ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร  ขี้เถ้านำมาเป็นน้ำด่างผสมทำน้ำยาล้างจาน ถ้าเป็นถ่านไม้ไผ่ สามารถทำเป็นสบู่ระงับกลิ่นตัว ดูดกลิ่น
3.       ฐานคนมีน้ำยา
เป็นการให้ความรู้ในการผลิตของใช้ในครัวเรือนเพื่อเป็นการลดรายของครอบครัว โดยเฉพาะ
รายจ่ายสำหรับซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น สบู่ น้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า แชมพู ซึ่งในแต่ละเดือนต้องจ่ายเงินซื้อจำนวนไม่น้อย การทำของใช้จากผลผลิตที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การทำน้ำยาล้างจานด้วยมะกรูด,น้ำด่างจากขี้เถ้า,มะนาว, การทำน้ำยาซักผ้าด้วยเปลือกสับปะรดลการทำสบู่ด้วยเปลือกมังคุด,การทำแชมพูด้วยดอกอัญชัน  เป็นต้น
4.       ฐานคนมีไฟ
เป็นการนำน้ำมันจากการทอดที่ไม่ใช้แล้ว มาสกัดน้ำมันไบโอแก็ส ซึ่งประโยชน์เป็นการลงทุนต่ำ
 รักษาสภาพแวดล้อม


๕. ลงแปลงปลูกป่า ๕ ระดับ
อ.วิวัฒน์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์  สภาพดิน ๔๐ ไร่นั้น  เป็นดินที่ตายแล้วจากการใช้ปลูกพืช
เชิงเดี่ยวและใช้สารเคมีมาเป็นเวลานาน  เขาต้องทำให้ดินฟื้นคืนชีพกลับมาก่อน  ด้วยเทคนิคการปลูกไม้ ๕ ระดับ ตามชั้นความสูงของไม้ซึ่งได้มาจากการสังเกตธรรมชาติของป่าคือ
๑. ไม้ระดับสูง เช่น ตะเคียน ยางนา มะค่าโมง สะตอ มะพร้าว
          ๒. ไม้ระดับกลาง เช่น ผักหวานป่า ติ้ว พลู กำลังเสือโคร่ง กล้วย
          ๓. ไม้พุ่มเตี้ย เช่น ผักหวานบ้าน มะนาว พริกไทย ย่านาง เสาวรส
          ๔. ไม้เรี่ยดิน  เช่น  ผักเสี้ยน  มะเขือเทศ สะระแหน่
          ๕. ไม้หัวใต้ดิน  เช่น ข่า ตะไคร้ ไพล เผือก มัน บุก กลอย
เมื่อปลูกไม้ครบทั้ง ๕ ระดับแล้ว เอาฟางห่มดินให้หนาเพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน  จุลินทรีย์ในดินจะขยายตัว  รากของต้นไม้จะชอนไชไปในดินได้ง่าย  ตามด้วยปุ๋ยแห้งจำพวกมูลสัตว์โรยทับ  แม้จะไม่ถึงดินโดยตรง  แต่ความชื้นจะค่อยๆ ดึงปุ๋ยลงสู่ดิน ดินก็จะย่อยสลาย
          แต่ละกลุ่มจะได้พันธุ์ไม้ อุปกรณ์ในการปลุก และกำหนดพื้นที่ปลูกให้ และให้แยกว่าพันธุ์ไม้ที่ให้มาเป็นไม้ระดับไหน และให้ห่มดิน,ปรุงอาหารเลี้ยงดิน

๖. เข้าป่าหาอาหารกินเอง
          ในกิจกรรมนี้ เป็นการให้แต่ละกลุ่มออกไปหาอาหาร(มื้อเย็น) ที่มีอยู่ในป่า โดยวิทยากรจะให้อุปกรณ์มาเป็นบางส่วน  อีกบางส่วนจะอยู่ที่กองกลาง ใครขาดอะไร ต้องการอะไร ก็ต้องมีวิธีการขอ มีการแลกเปลี่ยนกัน บางกลุ่มมีอีกอย่าง บางกลุ่มขาด  กิจกรรมนี้เป็นการฝึกการช่วยเหลือตนเองในกรรีที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ ภัยธรรมชาติ ทุกคนจะต้องช่วยเหลือตนเองและครอบครัวให้ได้เพื่อการอยู่รอด ร่วมทั้งการอยู่ในสังคมร่วมกัน ความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การใช้ประโยชน์จากของที่มีอยู่ให้คุ้มค่า 
๗. มอบวุฒิบัติ

๗. มอบวุฒิบัติ

การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน

องค์ความรู้การดำเนินงานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
บ้านวังไม้แก่น  หมู่ที่ ๑๐  ตำบลวังวน   อำเภอพรหมพิราม   จังหวัดพิษณุโลก
..........................
                                                                 
๒. สถานการณ์ปัญหายาเสพติดก่อนได้รับประราชทานกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                สังคมชุมชนบ้านท่าช้าง มีความเป็นอยู่ตามวิถีชาวบ้าน เรียบง่าย  มุ่งมั่นกับการประกอบอาชีพหารายได้เพื่อดูแลครอบครัว  บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีไม่มากนัก  ทั้งเรื่องการเมืองการปกครองและการมีส่วนร่วมการกำหนดแผนพัฒนาหมู่บ้าน  ไม่มีเงื่อนไขข้อตกลงในการปฏิบัติที่จะอยู่ร่วมกัน  ในชุมชน   การแบ่งคุ้มบ้านมิได้กำหนดบทบาทอย่างชัดเจน  ภาระหนักในการดูแลปกครองชุมชนเป็นของผู้มีตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น
                ปัญหาในชุมชนที่เกิดขึ้นทุกๆด้าน  ทุกคนละเลยมิได้ให้ความสำคัญที่จะหันหน้าปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดรอบบ้านที่ทวีความรุนแรง และเริ่มลุกลานเข้ามาในบ้าน เป็นปัญหาที่ทุกคนไม่กล้าเข้ามาช่วยแก้ไข  จากสถานการณ์ความเจริญทางเทคโนโลยีส่งผลต่อชุมชนโดยตรงเกิดการเปลี่ยนแปลงกระทบต่อคุณภาพชีวิต  ครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เริ่มเดือดร้อนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมืองการปกครอง  ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  เด็กเยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดมากขึ้น ประชาชนมีคุณภาพชีวิตแย่ลงตามลำดับ
                จำนวนผู้เสพ จากกลุ่มวัยทำงาน   ผู้ว่างงาน  กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และขยายวงกว้างไปกลุ่มนักเรียนประถม  
                ผู้ค้ายาเสพติดจากภายนอกชุมชน และมีบ้างในกลุ่มเล็กๆที่จำหน่ายให้วัยรุ่น นักศึกษา  สภาพปัญหาความเดือดร้อนส่งผลกระทบกับครอบครัวผู้เสพ  ยังไม่กระทบถึงชุมชน


๓. กระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกองทุนแม่ของแผ่นดิน
                     ชุมชนภาคภูมิใจในพระมหากรุณาธิคุณที่พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานเงินกองทุนแม่เป็นกองทุนศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลแก่หมู่บ้าน ที่ได้เงินมาเป็นเงินขวัญถุง จึงมีแนวคิดนำเงิน 8,000  บาท ให้ประชาชนแรกไปทำเงินขวัญถุงเป็นศิริมงคลแก่ครอบครัวตนเอง  ได้เงินมาทั้งสิ้น  23,000  บาท  เป็นกองทุนไว้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน  โดยได้เริ่มจากการดำเนินกิจกรรมดังนี้

      
                ๑. ปรับปรุงกิจกรรมคุ้มบ้านเข้มแข็ง โดยจัดตั้งคณะกรรมการประจำคุ้ม 5 คุ้ม  เข้ามามีบทบาทในการเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน  โดยยึดหลักการทำงานดังนี้
                                ๑)  ยึดหลักการปกครองแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
                                ๒) การกระจายอำนาจให้แต่ละคุ้มในการปกครองดูแลตนเองอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
                                ๓) จัดเวทีประชาคม/ทำแผนงานโครงการ จากการวิเคราะห์สถานการณ์ในชุมชน ค้นหาปัญหาและนำไปสู่การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
                                ๔) กระบวนการทำงานผ่านคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นศูนย์กลาง มอบงานให้เหมาะกับคน ตรงกับความรู้ความสามารถ
                                ๕)  คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนงาน
                                6) มีกฎระเบียบที่เป็นข้อตกลงร่วมกันเป็นกรอบการทำงาน
                                7) ติดตามประเมินผลสรุปผล จุดอ่อน  จุดแข็ง  แก้ไขปรับปรุงงาน ให้กำลังใจกันและกัน
                                8) สร้างทีมงานให้เข้มแข็ง/สร้างทีมใหม่ทดแทน ถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น เป็นนักปกครองรุ่นใหม่หัวใจรักแผ่นดิน
                2. จัดอบรมเยาวชน
                                -จัดทำข้อมูลเด็กเยาวชนทุกคุ้ม  คัดเลือกหัวหน้ากลุ่มเยาวชนเรียกว่า  ผู้ใหญ่บ้านน้อย เป็นผุ้ปกครองดูแลเยาวชนในหมู่บ้าน
                                -มีหน้าที่   1) ชวนน้องทำงาน ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมชุมชน  ในรูปแบบธนาคารขยะ
                                                    2)พาน้องเล่นกีฬา  เป็นกีฬาที่น้องชอบ  กีฬาการแข่งขันเรือยาวประเพณีพื้นบ้าน
                                                    3) มีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นการเบี่ยงเบนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง อย่างได้ผล และยังได้มีการกำหนดแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบาย 5 รั้ว                                               รั้วโรงเรียน /ประสานการทำงานระหว่างคณะกรรมการโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง
                                                รั้วครอบครัว/ ส่งเสริมครอบรัวอบอุ่น เข้าทางพ่อ แม่ พี่ น้อง เข้าถึง เข้าใจ
                                                รั้วชุมชน/ เน้นกลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน สร้างชุมชนเข้มแข็ง
                                                รั้วสังคม/เน้นมาตรการกฎระเบียบจากเวทีประชาคม
                                                รั้วชายแดน/ ผู้ประสานพลังแผ่นดินร่วมจัดการ เป็นตาสับปะรด
กลไกการทำงานทุกๆรั้ว เพื่อรักษาส่วนดีไว้  แก้ไขส่วนผิดพลาด  ให้โอกาสคนที่กลับใจ มีทุนประกอบอาชีพให้ถ้ากลับใจ
                ๓. โครงการสร้างครอบครัวเข้มแข็งตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน  โดยเริ่ม  ปลูกผักในวงยางหน้าบ้านทั้งปี  เลี้ยงปลาในวงบ่อ  ส่งเสริมการประหยัดและอดออม  ออมเงินเดือนละ 3 ครั้ง  ทุกวันที่ 1,10,20  ของทุกเดือน
มีการจัดการทุน /บูรณาการรวมทุนในชุมชนเป็นสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
มีการจัดการหนี้ / ปรับโครงสร้างหนี้ ให้เป็น 1 ครัวเรือน 1 สัญญา  เพื่อให้สมาชิกสามารถผ่อนส่งได้ไม่ลำบาก  มีให้มาฝาก  ยากให้มาถอน  เดือดร้อนให้มากู้
มีการจัดสวัสดิการ/ ตั้งแต่เกิดมีของขวัญ  แก่มีแทนคุณ  ป่วยมีเยี่ยมไข้  ตายมีปลดหนี้
พัฒนาคน พัฒนาอาชีพ สู่ความมั่นคงยั่งยืน จากเดิมในน้ำ มีปลา ในนามีข้าว อุดมสมบูรณ์แบบเดิม  จำลองมาเป็นแบบใหม่ใกล้บ้าน  แบบเศรษฐกิจพอเพียง  พอมี  พอกิน  พอประมาณ    เช้าตื่นขึ้นมา  มีสติอยู่กับตัว มีทูนหัวอยู่ข้างๆ  มีสตางค์ในกระเป๋า  มีข้าวในหม้อ  มีปลาในวงบ่อ  มีผักในวงยาง  มีตู้เย็นหลังใหญ่ตั้งไว้หน้าบ้าน แบ่งปันกันทุกครอบครัว  ทำให้ชุมชนอยู่เย็น เป็นสุข   ครอบครัวอบอุ่นหรรษา  มีหน้าบ้านน่าดู  ในบ้านน่าอยู่  หลังบ้านน่ามอง  จนถึงปัจจุบัน
                ๔..ปัญหา-อุปสรรค และข้อค้นพบ
                วิวัฒนาการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชน การใช้มาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรการของชุมชน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ประสิทธิภาพย่อมแตกต่างกัน  วิธีการที่เหมาะสมต้องเริ่มต้นจากจิตสำนึกของชุมชน และใช้วิธีแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยมาตรการทางกฎหมาย บูรณาการร่วมกันทั้งสองด้าน เพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยใช้หลักการวิธีที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของชุมชนดังนี้
                1)  สร้างเครือข่าย ทีมงาน สร้างจิตสำนึก  รู้รับผิดชอบชุมชน
                ๒)  ค้นหาข้อมูล แม่นยำ  ชัดเจน  ศึกษาข้อมูลรอบทิศให้ได้ข้อมูลผู้เสพ ผู้ค้า
                ๓)  เข้าใจ เข้าถึง   เข้าประชิดครอบครัวผู้เสพ  ผู้ค้า ให้ได้รับความไว้วางใจในการช่วยเหลือแก้ไข
                      เน้นวิธีการสันติวิธี  ดูแลโดยชุมชน
                ๔)  ประสานหน่วยงานราชการ ภาคี  องค์กรภายนอก  ให้การสนับสนุนเฉพาะส่วนที่ชุมชนต้องการ คือเกินความสามารถของชุมชน  เช่นในเรื่องของการบำบัด รักษา  เรื่องของการสนับสนุนอาชีพ ฯลฯ
                ๕)  มาตรการทางกฎหมายยังจำเป็นต้องใช้ ในบางกรณีที่ชุมชนไม่สามารถจัดการได้ เป็นขั้นตอนสุดท้าย
                               
                ๖. ข้อเสนอแนะ
ปัจจัยที่ส่งผลให้หมู่บ้านกองทุนแม่เข้มแข็งต้องบูรณาการทุกด้านให้ครอบคลุม
                                1. จัดการคน สร้างจิตสำนึก ให้มีหน้าที่ มีส่วนร่วม (ทุกเพศ ทุกวัย)
                                2. จัดการทุนให้เป็นระบบ ในการดูแลบูรณาการทุนในชุมชน ในรูปแบบของสถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน
                                3. จัดการเศรษฐกิจ ให้ได้เรียนรู้ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้จากแนวทางหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
๔. จัดการหนี้ ให้สมาชิกในชุมชนปรับโครงสร้างหนี้  1  ครัวเรือน  1  สัญญา มีแนวทางปลดหนี้              
                                5. จัดสวัสดิการเพื่อคนในชุมชน ครบถ้วน ทั่วถึง ครอบคลุม  เกิดแก่เจ็บตาย
                                6. จัดการหมู่บ้าน/ชุมชน อยู่อย่างพอเพียง  เข้มแข็งพร้อมรับปัญหา สู่ความยั่งยืน


------------------------------

บทเรียนการประสานการบันทึกข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานให้แล้วเสร็จตามกำหนด

การสรุปบทเรียนการประสานการบันทึกข้อมูล
ความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
ชื่อเรื่อง  การสรุปบทเรียนการประสานการบันทึกข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน(จปฐ.)และข้อมูลพื้นฐานให้แล้วเสร็จตามกำหนด
เจ้าขององค์ความรู้   นางพรรณทิพา  มหาธร  นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
วิธีการ (ทำอย่างไร)
               
๑.ประสานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลและเทศบาลในพื้นที่เพื่อเสนอชื้อผู้บันทึกข้อมูลของทุกตำบลและเทศบาล แต่งตั้งเป็นผู้บันทึกข้อมูล ปี ๒๕๕๗
                ๒.เข้ารับการอบรมการใช้โปรแกรมการบันทึกและประมวลผลข้อมูล จปฐ.และข้อมูลพื้นฐาน ร่วมกับผู้บันทึกข้อมูลฯ ของแต่ละตำบล
                ๓.สร้างเครือข่ายผู้บันทึกข้อมูล ทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท โดยทำทะเบียนผู้บันทึกข้อมูลของทุกตำบลและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชองงานข้อมูลฯ ของอำเภอแจกให้กับผู้บันทึกข้อมูลทุกคน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสานงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                ๔.การติดตามผลการจัดเก็บข้อมูลฯ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์ เพื่อรับทราบผลการบันทึกข้อมูลและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
                ๕.สรุปผลการบันทึกข้อมูลฯ วันศุกร์ของทุกสัปดาห์ เพื่อนำปัญหาที่พบมาวางแผนแก้ไขปัญหาให้กับผู้บันทึก และวางแผนการบันทึกข้อมูลให้เป็นไปตามกำหนด
                ๖.เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานข้อมูลฯของอำเภอ จะต้องบันทึกข้อมูลฯอย่างน้อยหนึ่งหมู่บ้านเพื่อเรียนรู้การใช้โปรแกรมร่วมกับผู้บันทึกของแต่ละตำบล เพื่อสามารถสื่อสารกับผู้บันทึกข้อมูลทุกคนได้อย่างเข้าใจ
เทคนิค กลเม็ด เคล็ดลับ ข้อพึงระวัง
                เทคนิค
 การสร้างเครือข่ายผู้บันทึกข้อมูลฯอำเภอพรหมพิรามเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
                กลเม็ด  เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานข้อมูลฯ ของอำเภอต้องลงมือบันทึกข้อมูลด้วย เพื่อเข้าใจโปรแกรมและสามารถสื่อสารกับผู้บันทึกได้ในแนวทางเดียวกัน
                เคล็ดลับ  เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานข้อมูลฯ อำเภอต้องสามารประสานงานกับผู้บันทึกข้อมูลฯ ของทุกตำบลได้โดยไม่ต้องรอผ่านพัฒนากรประสานงานตำบล เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บันทึกข้อมูลโดยตรง 
                ข้อพึงระวัง  ผู้รับผิดชองงานข้อมูลฯ จะต้องมีการประสานงานกับผู้บันทึกข้อมูลของแตะละตำบลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบความก้าวหน้าของการบันทึกข้อมูลฯ และปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ
………………………………………………………..

การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นงานใหม่ ระเบียบแนวทางการดำเนินงานใหม่ ที่โครงสร้างให้ความสำคัญกับศักยภาพของสตรีในการบริหารจัดการกองทุนเต็มรูปแบบ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นพี่เลี้ยงภายใต้ขีดจำกัดหลายประการ เช่น มีระเบียบคู่มือการดำเนินงานแต่ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรับรู้ช้ากว่าสตรี หรือไม่รับรู้เลย ระยะแรก เอกสารติดต่อสื่อสารหรือแม้กระทั่งระเบียบการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัด เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับรู้เรื่องด้วย การดำเนินงานมีเอกสารที่เกี่ยวข้องระหว่างทางแต่ละขั้นตอนมาก เมื่อมีการประสานเอกสารแจ้งผ่านสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอภายหลัง ระบบเอกสารจึงไม่ต่อเนื่อง ไม่สมบูรณ์ที่จะสนองตอบต่อการดำเนินงานกองทุนฯที่มีประสิทธิภาพได้ กอร์ปกับศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแต่ละตำบลแตกต่างกัน การรับรู้และความสามารถในการบริหารจัดการจึงมีความแตกต่างกันในทุกด้าน
จากการพัฒนาตนเอง ทำให้ได้ความรู้ และมีแนวความคิดที่ว่า “การทำงานต้องมีเป้าหมาย เมื่อลงมือทำต้องมีผลงาน วางเป้าหมายให้ใหญ่ไว้ แม้เมื่อทำงานแล้วจะไม่สามารถไปถึงเป้าหมายที่สูงสุดได้ แต่ก็ได้ผลงานที่มากกว่าเดิม” ดังนั้น จึงนำแนวคิดดังกล่าวกำหนดเป้าหมายไว้ที่การบริหารงานของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลที่ดีขึ้นกว่าเดิม เป็นรูปธรรมชัดเจนขึ้นกว่าเดิมแม้ว่าคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีจะมีวัยวุฒิ คุณวุฒิ และการศึกษาที่ต่างกัน แต่ต้องการให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพเหมือนกัน  โดยเฉพาะระบบเอกสารซึ่งมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการกองทุนให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบ ติดตามได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงคิดที่จะดำเนินการจัดทำสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบขึ้น โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
๑.      จัดทำโครงการ “สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ” เสนอขออนุมัติดำเนินการจากนายอำเภอ
๒.      แต่งตั้งทีมเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ ทั้งด้านโครงสร้าง ด้านเอกสารและงานสารบรรณ โดยศึกษาจากระเบียบกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี / เอกสารที่เกี่ยวข้อง และการจัดการเอกสารของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีดีเด่นของอำเภอ เพื่อปรับปรุงและต่อยอดให้สมบูรณ์ขึ้นกว่าเดิม
๓.      ทีมงานเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอ ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาบทบาทสตรีตำบลที่ได้รับการคัดเลือก ดำเนินการปรับปรุงสำนักงานตามรูปแบบที่กำหนด
๔.      นำคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตำบลศึกษาดูงานสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีต้นแบบ เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิด และเป็นการเสนอแนวทางให้สตรีได้นำไปดำเนินการต่อในลักษณะ Benchmarking (เรียนรู้จากสิ่งที่ดีที่สุด)
๕.      ติดตาม / สรุปผลการดำเนินงาน


………………………………………………………………………………………………………………………………….

น.ส.โสภิต  ภูริสวัสดิ์

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ